หยุด! เพื่อทบทวน ”กลยุทธ์ทางธุรกิจ” และพร้อมสำหรับการเร่งเครื่องสู่อนาคตที่มั่นคง

business_strategy

     กลยุทธ์ทางธุรกิจ (Business Strategy) คือ แผนงานหรือชุดของแนวทางที่องค์กรจะใช้เพื่อบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ระยะยาว โดยมีการพิจารณาถึงทรัพยากรที่มี, สภาพแวดล้อมภายนอก, และการแข่งขันในตลาด กลยุทธ์ทางธุรกิจมีหลายรูปแบบ แต่ละรูปแบบมีจุดเน้นและวิธีการที่แตกต่างกัน ซึ่งบางครั้งอาจรวมถึงการเลือกตลาดเป้าหมาย, การกำหนดตำแหน่งสินค้าหรือบริการ, การพัฒนาสินค้าใหม่, การปรับปรุงกระบวนการผลิต, การวางแผนทางการเงิน, และการใช้เทคโนโลยีในการสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน

ปัจจัยในการเลือกปรับ กลยุทธ์ทางธุรกิจ

วัตถุประสงค์ขององค์กร : สิ่งที่องค์กรต้องการบรรลุ เช่น การเติบโต, การเพิ่มส่วนแบ่งตลาด, หรือความยั่งยืน 

ทรัพยากรที่มี : ทั้งทรัพยากรทางการเงิน, บุคคล, เทคโนโลยี, และอื่นๆ 

สภาพแวดล้อมทางการแข่งขัน : การวิเคราะห์คู่แข่งและการวางตำแหน่งของตัวเองในตลาด 

แนวโน้มตลาดและความต้องการของลูกค้า : การตอบสนองต่อความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของลูกค้า 

การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี : การใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อสร้างข้อได้เปรียบ กลยุทธ์ทางธุรกิจสามารถเป็นระดับต่างๆ ตั้งแต่กลยุทธ์ระดับองค์กร (Corporate Strategy), กลยุทธ์ระดับธุรกิจ (Business Unit Strategy), ไปจนถึงกลยุทธ์ระดับการดำเนินงาน (Operational Strategy) ทุกระดับกลยุทธ์นี้มีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนกันและกัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายระยะยาวขององค์กร. อาทิเช่น
– กลยุทธ์เชิงรุก (Offensive Strategies) เป็นกลยุทธ์ที่มุ่งเน้นการขยายธุรกิจ เข้าสู่ตลาดใหม่ หรือเพิ่มส่วนแบ่งของการตลาด
– กลยุทธ์เชิงรับ (Defensive Strategies) เป็นกลยุทธ์ที่มุ่งเน้นการรักษาฐานลูกค้าเดิม รักษาส่วนแบ่งในตลาด และเน้นกิจกรรภายในที่สามารถลดต้นทุนขององค์กรได้
– กลยุทธ์แบบผสมผสาน (Combination Strategies) เป็นกลยุทธ์ที่ผสมผสานระหว่างกลยุทธ์เชิงรุกและเชิงรับ
– กลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง (Differentiation Strategy) เป็นกลยุทธ์ที่มุ่งเน้นการสร้างสินค้าหรือบริการที่แตกต่างจากคู่แข่ง และสามารถแย่งส่วนแบ่งตลาดได้อย่างรวกเร็ว
– กลยุทธ์ต้นทุนต่ำ (Low-Cost Strategy) เป็นกลยุทธ์ที่มุ่งเน้นการลดต้นทุนในสายการผลิต เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการในราคาที่ต่ำกว่าคู่แข่ง
– กลยุทธ์การมุ่งเน้นกลุ่มลูกค้าเฉพาะ (Focus Strategy) เป็นกลยุทธ์ที่มุ่งเน้นการทำตลาดไปยังกลุ่มลูกค้าเฉพาะกลุ่ม เช่น สินค้าแฟชั่น อุปกรณ์ทางการแพทย์ และ เครื่องมือช่าง เป็นต้น  

ปัจจัยเสี่ยงในปัจจุบันที่องค์กรต้องให้ความสำคัญ  

 การปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจมีปัจจัยเสี่ยงหลายด้านที่องค์กรต้องคำนึงถึง เพื่อให้สามารถนำไปสู่การตัดสินใจที่มีประสิทธิผลและลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้รวมถึง   

การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี (Technological Advancements)ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในปัจจุบันที่มีมากขึ้น กลายเป็ฯความท้าทายใหม่และสามารถเข้ามาทดแทน ขั้นตอนหรือกระบวนการต่างๆขององค์กรได้ ซึ่งอาจทำให้กระบวนการต่างๆที่ธุรกิจใช้ในปัจจุบันกลายเป็นนสิ่งล้าสมัย ซึ่งหากองค์กรต้องการลดความเสี่ยงและผลกระทบจาก เทคโนโลยี องค์กรต้องมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการในการทำงาน โดยต้องมีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาปรับใช้มากขึ้น รวมถึงต้องคอยติดตามประเมิณผลของกิจกรรมต่างๆหลังใช้เทคโนโลยีเข้ามาร่วมทำงานว่ามีประสิทธิภาพเป็นไปตามที่คาดหวังหรือไม่  

การเปลี่ยนแปลงด้านกฎหมายและข้อบังคับต่างๆ  (Law and Regulation) อาทิเช่น กฎหมายที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคล PDPA (Personal Data Protection Act) ที่มีผลต่อการจัดการข้อมูลส่วนบุคคล รวมไปถึงข้อมูลอื่นๆเช่น ภาพถ่าย และ VDO ที่จะต้องใช้งานผ่านสื่อช่องทางต่างๆ ซึ่งองค์กรจะต้องปรับกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับข้อกำหนดทางกฎหมายเพื่อป้องกันความเสี่ยงทางกฎหมายและค่าปรับที่อาจะเกิดขึ้นได้   

 ความสัมพันธ์ (Connection) การขาดการเชื่อมต่อหรือรักษาความสัมพันธที่ดีกับ คู่ค้าและลูกค้าอาจเป็นอุปสรรค์สำคัญในการขยายธุรกิจและในกลุ่มแวดวงธุรกิจอื่นๆ อาจส่งผลถึงโอกาสในการรักษาส่วนแบ่งทางการตลาด ซึ่งองค์รจะต้องปรับตัวในการ สร้างและบำรุงรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าและคู่ค้าผ่านการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ เช่น การเข้าร่วมงานอีเวนต์อุตสาหกรรม และการสร้างโอกาสในการร่วมมือกัน 

ตัวอย่างองค์กรที่กำหนดกลยุทธ์ทางธุรกิจผิดพลาด

  1. แบรนด์มือถือยักษ์ใหญ่รายหนึ่ง เคยเป็นผู้นำตลาดโทรศัพท์มือถือระดับโลก แต่การเกิดขึ้นของ Smart Phone ทำให้ไม่สามารถปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและสูญเสียส่วนแบ่งการตลาดให้กับคู่แข่งอย่าง Apple และ Samsung และกว่าจะกลับเข้าสู่ตลาดได้ก็สายไปแล้ว
  2. บริษัทผู้ให้บริการร้านเช่า VDO และเคยเป็นผู้นำตลาด แต่ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและการเข้ามาของ VIDEO Streaming Platform และสูญเสียส่วนแบ่งการตลาดให้กับ Netflix  
  1. บริษัทผลิตฟีล์มและกล้องถ่ายภาพชื่อดัง เคยเป็นผู้นำตลาดฟิล์มถ่ายรูปของโลก แต่บริษัทเองไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี กล้องถ่ายถาพ DIGITAL และสูญเสียส่วนแบ่งการตลาดให้กับกล้องดิจิทัล แบรนด์ต่างๆอย่าง CANON,NIKON และ SONY 
  2. บริษัทรถยนต์สัญชาติอเมริกันรายใหญ่ ที่เคยเป็นผู้นำตลาดรถยนต์ของอเมริกาและยุโรป ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีด้านยนตรกรรม และสูญเสียส่วนแบ่งการตลาดให้กับ Tesla

จะเห็นได้ว่าแบรนด์ที่เคยเป็นเจ้าตลาดแต่ไม่มีการปรับกลยุทธ์ในการทำธุรกิจ ภายใต้ปัจจัยบังคับอย่างการพัฒนาเทคโนโลยี ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อระบบของบริษัท พนักงาน และอาจะทำให้สูญเสียรายได้จนถึงขั้นต้องปิดกิจการซึ่งสาเหตุหลักๆคือ องค์กรไม่มีการปรับตัวให้ทันต่อเทรนของโลก ,ไม่มีการศึกษาพฤติกรรมของลูกค้า ,ขาดการวิเคราะห์คู่แข่ง,ไม่ได้ประเมิณความเสี่ยงและขาดกลยุทธ์ที่ชัดเจน  

 การรับมือกับปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ต้องมีการวางแผนที่ครอบคลุมและการประเมินความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการมีกลยุทธ์ในการจัดการความเสี่ยงที่เหมาะสม เช่น การสร้างความยืดหยุ่นในการดำเนินงาน การมีแผนฉุกเฉิน และการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อปรับปรุงกระบวนการทำงานและลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น. 

การใช้บริการ Outsource เข้ามาช่วยในการปรับ กลยุทธ์ทางธุรกิจ  

การใช้บริการ Outsource เข้ามาช่วยในการปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจช่วยให้องค์กรสามารถโฟกัสไปที่กิจกรรมหลักของธุรกิจได้มากขึ้น โดยการโอนความรับผิดชอบในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์, งานที่เกี่ยวข้องกับด้าน IT, การจัดการเอกสารภายในบริษัท, การบริหารจัดการรถยนต์, การบริหารพื้นที่สีเขียว และอื่นๆ ไปยังผู้ให้บริการภายนอกที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเข้ามาบริหารจัดการแทนองค์กร 

ประโยชน์จากการใช้บริการ Outsource 

1 ช่วยให้สามารถโฟกัสไปที่ธุรกิจหลักได้มากขึ้น: โดยการลดภาระการจัดการงานสนับสนุนที่ไม่ใช่หัวใจหลักของธุรกิจ, องค์กรสามารถเพิ่มประสิทธิภาพและความคล่องตัวในการบริหารธุรกิจหลัก. 

2 ความสามารถในการปรับขนาด: บริการ Outsource ช่วยให้องค์กรสามารถปรับขนาดของทรัพยากรได้ตามความต้องการของธุรกิจ, ไม่ว่าจะเป็นการขยายหรือลดขนาด, ทำให้สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาดได้อย่างรวดเร็ว. 

3 การโอนความเสี่ยง: การใช้บริการ Outsource ยังช่วยโอนความเสี่ยงบางประเภทไปยังผู้ให้บริการภายนอก, เช่น ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรมนุษย์, การลงทุนในเทคโนโลยี, หรือการปฏิบัติตามข้อกำหนดทางกฎหมาย. 

4 การเข้าถึงนวัตกรรม: ผู้ให้บริการ Outsource มักจะมีการลงทุนในเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อให้บริการที่ดีที่สุดแก่ลูกค้า, ทำให้องค์กรสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ได้โดยไม่ต้องลงทุนเอง. 

ด้วยการใช้กลยุทธ์การ Outsource ที่เหมาะสม, องค์กรสามารถเพิ่มความยืดหยุ่น, ปรับปรุงการบริหารจัดการ, และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในตลาดได้

siamrajathanee-so

SO ผู้นำด้านธุรกิจเอาท์ซอร์สแบบครบวงจร หนึ่งเดียวในตลาดหลักทรัพย์ของประเทศไทย ที่นำ Tech-enabled outsourcing solution เข้ามาพัฒนาธุรกิจของลูกค้าให้มีประสิทธิภาพที่ดีมากยิ่งขึ้น และทาง SO ยังมีการเพิ่มศัพยภาพที่แข็งแกร่งอย่างไม่หยุดนิ่งด้วยการที่มีพันธมิตรทางธุรกิจหลากหลายกลุ่มอุตสาหกรรทั้งไทยและทั่วโลก เพื่อมอบประโยชน์สูงสุดให้กับลูกค้า ด้วยบริการที่ครอบคุลมและพร้อมตอบโจทย์ทุกความต้องการในการพัฒนาธุรกิจ

Service 4 Level สำหรับทุกธุรกิจลูกค้า
1. Workforce Outsource บริการด้านบุคลากรในตำแหน่งต่างๆ เริ่มตั้งแต่การสรรหา การบริหารกำลังคน ไปจนถึงขั้นตอนการจัดการเรื่อง Payroll ครบทั้งกระบวนการ ปัจจุบัน SO บริหารบุคลากรกว่า 10,000 อัตรา ทั้งหน่วยงานราชการ และเอกชนกว่า 450 หน่วยงาน ทั่วประเทศ
2. Business Process Outsource (BPO) พัฒนาออกแบบ และบริหารจัดการกระบวนการทางธุรกิจ ที่เหมาะสมให้กับลูกค้า ด้วยการใช้ทรัพยากรด้านแรงงาน และเทคโนโลยี เพื่อการยกระดับเพิ่มประสิทธิภาพของผลลัพธ์ให้อยู่เหนือคู่แข่งของลูกค้า
3. Specialized Outsource บริการผู้เชี่ยวชาญสำหรับงานเฉพาะด้าน เช่น “รุกขกร” งานด้านตัดแต่งต้นไม้ และดูแลภูมิทัศน์ขนาดใหญ่, งานด้านการกำจัดของเสียสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม, การจัดหารรถพร้อมดัดแปลง และจดประกอบสำหรับงาน Logistic
4. IT Outsource & Platform บริการด้านการจัดหาบุคลากรด้าน IT และเทคโนโลยีผัจจุบัน เพื่อการพัฒนากระบวนการทำงาน เช่น เทคโนโลยี RPA, AI, OCR ฯลฯ พร้อมกับระบบที่ทาง SO พัฒนาขึ้น เช่น Digital Signature, ระบบ Time Attendance และระบบ Business Process Management (BPM)
 
จาก 4 Resource ของ SO ซึ่งเป็นส่วนหลักในการเติมเต็มให้กับ Service ทั้ง 4 Level
1.SO People ทรัพยากรด้ารบุคลากร มีความชำนาญด้านการสรรหา และคัดสรร พร้อมทั้งการพัฒนาทักษะให้กับพนักงานทุกท่าน ก่อนการจัดส่งให้บริการลูกค้า
2.SO Wheel จัดหารถเช่าทั่วไป และรถ EV ทุกประเภท พร้อมทั้งบริการดัดแปลงรถให้เหมาะสมกับธุรกิจลูกค้าตามต้องการ
3.SO Green ผู้เชี่ยวชาญด้านบริหารจัดการภูมทัศน์ หรือพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่ ทั้งการออกแบบ การดูแลต้นไม้ และสภาพแวดล้อมทั้งหมดในพื้นที่
4. SO Next บริหารจัดการข้อมูล หรือเอกสารจำนวนมาก และออกแบบกระบวนการทำงานให้กับธุรกิจลูกค้า ด้วย Lean & Digitize เพื่อการ Transformation อย่างมีประสิทธิภาพ
 

เป้าหมายของ SO คือการเป็นพันธมิตรและที่ปรึกษาให้แก่ลูกค้า โดยการมีส่วนร่วมในการกำหนดกลยุทธ์และนโยบายสำหรับการดำเนินธุรกิจ ด้วยบริการ Outsource แบบผสานงานด้านบุคลากร และเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน  เรียกว่า Tech-Enabled Outsourcing Solution เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการทำงาน พร้อมนำเสนอวิธีการในการแก้ปัญหาที่เหมาะสมสำหรับทุกธุรกิจ

การเอาท์ซอร์สช่วยให้องค์กรมุ่งเน้นไปที่ธุรกิจหลักได้อย่างเต็มที่ มีความยืดหยุ่นในการปรับขนาดธุรกิจตามสถานการณ์ ถ่ายโอนความเสี่ยงต่างๆ ให้ SO จัดการ พร้อมเข้าถึงเทคโนโลยีสมัยใหม่และนำหน้าคู่แข่ง เป็นการเปิดประตูสู่โอกาสใหม่ๆ ตามแนวคิด "Unlock Possibilities, SO Here We Are"

เบื่อกับขั้นตอนงานเดิมๆ ซ้ำๆ… ให้ RPA ช่วยทำงานสิ !!!

RPA

ให้ RPA ช่วยจัดการกับขั้นตอนงานซ้ำๆ

การนำระบบอัตโนมัติกระบวนการทางธุรกิจ (Robotic Process Automation หรือ RPA) มาใช้ในองค์กรมีประโยชน์หลายประการ ได้แก่ การลดต้นทุนและค่าใช้จ่าย เนื่องจากระบบ RPA สามารถทำงานแทนมนุษย์ได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่ต้องจ่ายค่าแรงงานเพิ่มเติม นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ลดข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงานด้วยมนุษย์ รวมทั้งเพิ่มผลผลิตและความรวดเร็วในการทำงาน ซึ่งจะส่งผลให้องค์กรมีศักยภาพในการแข่งขันที่สูงขึ้น

ประโยชน์ของการใช้ RPA

  • ลดต้นทุนและค่าใช้จ่าย
  • เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
  • ลดข้อผิดพลาดในการทำงาน
  • เพิ่มผลผลิตและความเร็วในการทำงาน
  • เพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน

ระบบ RPA สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับงานประเภทต่างๆ เช่น งานที่ต้องทำซ้ำๆ เป็นประจำ งานที่มีขั้นตอนการทำงานที่ชัดเจน งานที่ต้องอาศัยการประมวลผลข้อมูลจำนวนมาก หรืองานที่ต้องอาศัยการจดจำหรือการตัดสินใจที่ไม่ซับซ้อน ซึ่งการนำ RPA มาใช้จะช่วยแบ่งเบาภาระงานจำเจให้แก่พนักงานและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานขององค์กรได้เป็นอย่างดี

การใช้งาน RPA ในธุรกิจต่างๆ

  • กระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง
  • กระบวนการบัญชี
  • กระบวนการลูกค้าสัมพันธ์
  • กระบวนการผลิต
  • กระบวนการคลังสินค้า

ปัจจุบัน RPA เป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมอย่างมากในองค์กรต่างๆ ทั่วโลก เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีที่ใช้งานง่าย มีประสิทธิภาพสูง และสามารถช่วยลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายได้อย่างคุ้มค่า

บริการบริหารข้อมูล ภายในองค์กร และจัดหาพนักงาน IT Outsource

So Next มุ่งเน้นให้บริการด้าน Lean Transformation และ Digitalization ในองค์กร ผ่านการให้คำปรึกษา ออกแบบกระบวนการ ค้นหาเครื่องมือที่เหมาะสม และบริหารโครงการ โดยมีเป้าหมายให้ลูกค้าสามารถโฟกัสที่ธุรกิจหลัก ปรับขนาดธุรกิจได้อย่างยืดหยุ่น ลดความเสี่ยง และสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ในองค์กร

สนใจบริการ

วิวัฒนาการของการเอาท์ซอร์ส (Outsourcing) จากยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมสู่ยุคดิจิทัล

SO-สยามราชธานี-Siamrajathanee-Outsource-Outsourcing-Assistants-Consultant - business_opportunity IT Outsource Framework evolution-outsourcing-01

การใช้บริการจากภายนอกองค์กร หรือที่เรียกว่า “เอาท์ซอร์ส” (Outsourcing) เป็นกลยุทธ์ทางธุรกิจที่มีวิวัฒนาการยาวนานควบคู่ไปกับการพัฒนาของโลกธุรกิจ มีการเปลี่ยนแปลงและปรับใช้ในรูปแบบต่างๆ ตามบริบททางสังคม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยีของแต่ละยุคสมัย จากเป้าหมายเพื่อลดต้นทุนการผลิตในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม จนถึงการเข้าถึงบริการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมในปัจจุบัน Outsource คือกลยุทธ์สำคัญที่ช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ ทั้งในแง่การลดต้นทุน เข้าถึงบริการจากผู้เชี่ยวชาญ เพิ่มประสิทธิภาพ นำพาสู่นวัตกรรมใหม่ๆ และความยืดหยุ่นในการปรับตัวให้ทันต่อความท้าทายของโลกธุรกิจยุคดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

แต่ละยุคสมัยการเอาท์ซอร์สจะมีรูปแบบและคุณค่าที่แตกต่างกัน แต่จุดร่วมคือการใช้ประโยชน์จากการมอบหมายงานบางส่วนให้ผู้เชี่ยวชาญภายนอก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ผลิตภาพ และความสามารถทางการแข่งขันขององค์กร ซึ่งถือเป็นกลยุทธ์ธุรกิจสำคัญสำหรับการอยู่รอดและเติบโตในทุกยุคสมัย

outsourcing-industrialization

1.ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrialization) จุดกำเนิดของการเอาท์ซอร์ส (Outsourcing) เพื่อประสิทธิภาพ

(Industrialization, Cost Efficiency)

ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ขณะที่ปฏิวัติอุตสาหกรรมก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการผลิต และความต้องการสินค้าในปริมาณมหาศาล บริษัทต่างๆ จึงเริ่มนำแนวคิดการจ้างแรงงานภายนอกมาใช้อย่างแพร่หลาย ซึ่งถือเป็นรากฐานของการ Outsource ในปัจจุบัน

ตัวอย่างที่โดดเด่น ได้แก่:

  • อุตสาหกรรมสิ่งทอในสหรัฐอเมริกา โรงงานผลิตเสื้อผ้าจำนวนมากได้ย้ายฐานการผลิตจากภาคเหนือลงมายังมลรัฐทางภาคใต้ เช่น นอร์ทคาโรไลนา เพื่อจ้างแรงงานจากครัวเรือนรายย่อยที่มีค่าแรงถูกกว่า ช่วยลดต้นทุนการผลิตและทำให้สินค้ามีราคาแข่งขันได้ในตลาด
  • Cadbury ผู้ผลิตช็อกโกแลตชื่อดัง บริษัทได้ให้ครัวเรือนต่างๆ รับงานตัดแต่งหรือห่อหุ้มช็อกโกแลตไปทำที่บ้าน ซึ่งเป็นการจ้างแรงงานภายนอกในลักษณะ Outsource ที่ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก
  • Benetton แบรนด์เสื้อผ้าสัญชาติอิตาลี มีการว่าจ้างชาวบ้านและครอบครัวในหมู่บ้านต่างๆ ของอิตาลีเหนือมาทำงานผลิตเสื้อผ้าที่บ้าน เพื่อใช้ประโยชน์จากแรงงานราคาถูก ช่วยลดต้นทุนการผลิตได้อย่างมหาศาล

เหตุผลหลักของการใช้แรงงานภายนอกในยุคนั้น คือ การลดต้นทุนการผลิตด้วยการจ้างแรงงานที่มีค่าจ้างต่ำกว่าแรงงานประจำ ทำให้สามารถตั้งราคาสินค้าให้แข่งขันได้ในตลาด อีกทั้งยังเป็นการแบ่งเบาภาระการจ้างงานแรงงานประจำภายในโรงงานด้วย

แนวคิดการนำแรงงานภายนอกเข้ามาใช้ในกระบวนการผลิตในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมนี้เอง จึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของแนวคิดการ Outsource ในโลกธุรกิจปัจจุบัน ที่มุ่งเน้นการใช้ประโยชน์จากการแบ่งปันทรัพยากรภายนอกองค์กร

outsourcing-it-era

2.ยุคการปฏิวัติ IT (Rise of IT) การเอาท์ซอร์ส ที่พลิกโฉมธุรกิจในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ

(Need for Specialized Skills and Technology)

ในช่วงทศวรรษ 1960 เมื่อคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) เริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญในวงการธุรกิจ บริษัทต่างๆ จำเป็นต้องนำระบบคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์มาใช้ในการดำเนินงาน แต่การดูแลรักษาและบริหารจัดการระบบเหล่านี้ต้องอาศัยบุคลากรที่มีความรู้และทักษะเฉพาะทาง ทำให้เกิดความต้องการในการ Outsource งานด้าน IT ขึ้น

ตัวอย่างที่น่าสนใจ ได้แก่:

  • Kodak ในปี 1989 Eastman Kodak บริษัทผลิตอุปกรณ์ถ่ายรูปและฟิล์มชื่อดัง ตกลงทำสัญญาจ้าง IBM ให้ดูแลระบบสารสนเทศและการประมวลผลข้อมูลทั้งหมด มูลค่ากว่า 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นสัญญา Outsource ด้าน IT ที่ใหญ่ที่สุดในเวลานั้น
  • Continental Airlines สายการบินยักษ์ใหญ่จากสหรัฐฯ ได้จ้าง EDS ซึ่งเป็นบริษัทด้านเทคโนโลยีชั้นนำในขณะนั้น ดูแลทั้งระบบจองตั๋ว การเช็คอิน และงานด้านไอทีต่างๆ เพื่อให้สามารถมุ่งเน้นการบริหารจัดการธุรกิจหลักของตนได้เต็มที่
  • Swiss Bank Corporation ธนาคารยักษ์ใหญ่จากสวิตเซอร์แลนด์ได้ Outsource งานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งหมดให้กับ IBM, Merrill Lynch และ Xtra ซึ่งช่วยลดต้นทุนการดำเนินงานได้อย่างมาก

เหตุผลหลักของการใช้บริการคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์จากภายนอกในยุคนั้นคือการเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานและการลดต้นทุน ด้วยการใช้ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีจากภายนอก ทำให้บริษัทสามารถมุ่งเน้นไปที่ความสามารถหลักและการขยายธุรกิจได้อย่างเต็มที่

แนวคิดการนำบริการคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์เข้ามาใช้ในกระบวนการดำเนินงานในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศนี้เอง จึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของแนวคิดการ Outsource ด้าน IT ในโลกธุรกิจปัจจุบัน ที่มุ่งเน้นการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและผู้เชี่ยวชาญภายนอกองค์กร

outsourcing-globalization

3. ยุคโลกไร้พรมแดน (Globalization) การเอาท์ซอร์สที่ขับเคลื่อนธุรกิจในยุคโลกาภิวัฒน์

(Access to Global Shared Services and Global Talents)

ในช่วงทศวรรษ 1990 เมื่อกระแสโลกาภิวัฒน์เริ่มแพร่หลาย ประกอบกับความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีสื่อสารและการขนส่ง ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงาน สินค้า และบริการข้ามพรมแดนมากขึ้น องค์กรธุรกิจต่างๆ จึงเริ่มหันมาใช้กลยุทธ์ Outsource งานไปยังประเทศที่มีต้นทุนแรงงานต่ำกว่าอย่างแพร่หลาย

ตัวอย่างที่น่าสนใจ ได้แก่:

  • India’s IT Services : ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1990 ประเทศอินเดียได้กลายเป็นศูนย์กลางการเอาท์ซอร์สด้าน IT ระดับโลก ด้วยการแก้ไขปัญหา Y2K ที่เน้นความสามารถในการพัฒนาซอฟต์แวร์ของอินเดีย ส่งผลให้บริษัทต่างๆ ทั่วโลกเลือกเอาท์ซอร์สงานด้าน IT ไปยังอินเดีย ซึ่งมีแรงงานที่มีทักษะสูงและพูดภาษาอังกฤษได้ดี ในราคาที่ต่ำกว่าประเทศตะวันตก การเอาท์ซอร์สไปยังอินเดียช่วยลดต้นทุนการดำเนินงาน และเพิ่มประสิทธิภาพในการพัฒนาซอฟต์แวร์ รวมถึงการสนับสนุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้บริษัทสามารถให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมงเนื่องจากความแตกต่างของเวลา
  • Philippines Call Centers : ประเทศฟิลิปปินส์ได้กลายเป็นศูนย์กลางการเอาท์ซอร์สงานบริการลูกค้าและศูนย์ติดต่อสอบถาม ด้วยความเชี่ยวชาญด้านการบริการลูกค้าและความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษได้ดี บริษัทต่างๆ เช่น Accenture และ Convergys ได้เอาท์ซอร์สงานบริการลูกค้าของตนไปยังฟิลิปปินส์ การเอาท์ซอร์สงานบริการลูกค้าไปยังฟิลิปปินส์ช่วยลดต้นทุนค่าแรงและเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการลูกค้า สามารถปรับขนาดการให้บริการได้ตามปริมาณงานและฤดูกาล และให้บริการลูกค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง
  • Nike – Outsource การผลิต : Nike ได้เอาท์ซอร์สการผลิตรองเท้าและเครื่องแต่งกายไปยังประเทศต่างๆ ในเอเชีย เช่น เวียดนาม อินโดนีเซีย และจีน เพื่อประโยชน์จากต้นทุนแรงงานที่ต่ำกว่า และโครงสร้างพื้นฐานการผลิตที่มีประสิทธิภาพ การเอาท์ซอร์สการผลิตช่วยให้ Nike สามารถลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งสินค้าเข้าสู่ตลาด ทำให้บริษัทสามารถมุ่งเน้นไปที่การพัฒนานวัตกรรมและการตลาด

เหตุผลหลักของการใช้การเอาท์ซอร์สข้ามพรมแดนในยุคโลกาภิวัฒน์คือการลดต้นทุนการดำเนินงานและการเข้าถึงบุคลากรที่มีทักษะสูงในประเทศที่มีค่าแรงต่ำกว่า นอกจากนี้ยังช่วยให้บริษัทสามารถปรับตัวเข้ากับตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในระดับสากล

การ Outsource ในยุคโลกาภิวัฒน์จึงมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อใช้ประโยชน์จากต้นทุนแรงงานที่ถูกกว่าในประเทศกำลังพัฒนา ควบคู่ไปกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่ออำนวยความสะดวกในการบริหารจัดการงาน สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจในตลาดโลก

 

outsourcing-digital transform

4.ยุคดิจิทัลทรานสฟอร์เมชัน (Digital Transformation) การเอาท์ซอร์สเพื่อมุ่งเน้นความสามารถหลักขององค์กร

(Efficiency, Specialized Skills, and Focus on Core Competencies)

ในยุคปัจจุบันที่โลกเข้าสู่การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) อย่างเต็มรูปแบบ เทคโนโลยีดิจิทัลได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการดำเนินธุรกิจและการใช้ชีวิตประจำวัน การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมได้เปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานและการจัดการธุรกิจ บริษัทต่างๆ จึงเริ่มนำแนวคิดการเอาท์ซอร์สมาปรับใช้มากขึ้น เพื่อให้สามารถมุ่งเน้นไปที่ความสามารถหลักขององค์กรได้อย่างเต็มที่ การเอาท์ซอร์สในยุคดิจิทัลนี้ไม่เพียงแต่ช่วยลดต้นทุนเท่านั้น แต่ยังช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้วยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาใช้

บริษัทจำนวนมากเลือกที่จะ Outsource งานด้านไอทีและดิจิทัลให้กับผู้ให้บริการรายใหญ่ที่มีความเชี่ยวชาญ เช่น Accenture, IBM, Tata Consultancy Services เป็นต้น เพื่อให้สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องลงทุนจ้างบุคลากรและสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้วยตนเอง

ในยุคดิจิทัลทรานสฟอร์เมชันนี้ มีองค์กรธุรกิจจำนวนมากที่หันมาใช้กลยุทธ์ Outsource ในรูปแบบต่างๆ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลาย ดังนี้

  • Netflix เป็นผู้นำด้านสตรีมมิ่งรายการทีวีและภาพยนตร์ ได้ตัดสินใจ Outsource งานด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์และแอปพลิเคชันให้กับบริษัท Pivotal ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์บนคลาวด์ การ Outsource ช่วยให้ Netflix สามารถปล่อยผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็ว และปรับปรุงแก้ไขได้ตลอดเวลาตามความต้องการของผู้ใช้งาน
  • Coca-Cola ได้เอาท์ซอร์สการผลิตและการจัดการโลจิสติกส์ไปยังบริษัทบรรจุขวดในภูมิภาคต่างๆ เพื่อให้สามารถมุ่งเน้นการพัฒนากลยุทธ์การตลาดและการสร้างแบรนด์ การเอาท์ซอร์สนี้ช่วยให้ Coca-Cola สามารถลดต้นทุนการดำเนินงานและเพิ่มประสิทธิภาพในการกระจายสินค้า
  • Apple ได้เอาท์ซอร์สการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไปยัง Foxconn ในประเทศจีน เพื่อให้สามารถมุ่งเน้นการพัฒนานวัตกรรม การออกแบบ และการตลาด การเอาท์ซอร์สนี้ช่วยให้ Apple สามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพสูงในปริมาณมาก และลดต้นทุนการผลิต ทำให้บริษัทสามารถออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
  • Procter & Gamble (P&G) – Outsource การบริหารจัดการไอทีและการผลิตสินค้า P&G ได้เอาท์ซอร์สงานบริหารจัดการระบบไอทีไปยัง IBM เพื่อมุ่งเน้นการพัฒนานวัตกรรมและการตลาดของผลิตภัณฑ์ รวมถึงเอาท์ซอร์สการผลิตสินค้าไปยังต่างประเทศ เช่น เม็กซิโกและเวียดนาม เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ตอบสนองความต้องการของตลาดทั่วโลก
  • การ Outsource ได้รับความนิยมในหลายอุตสาหกรรมภายในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการจัดการแรงงาน การบันทึกข้อมูล และงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หนึ่งในผู้ให้บริการ Outsource ชั้นนำของไทยคือบริษัท สยามราชธานี จำกัด (SO) ซึ่งให้บริการงานจ้างแรงงานภายนอก บริการด้านไอทีและดิจิทัล รวมไปถึงการบริหารจัดการสำนักงานแบบครบวงจร

เหตุผลหลักของการใช้การเอาท์ซอร์สในยุคดิจิทัลคือการเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานและการลดต้นทุน ด้วยการใช้ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีจากภายนอก ทำให้บริษัทสามารถมุ่งเน้นไปที่ความสามารถหลักและการขยายธุรกิจได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ยังช่วยให้บริษัทสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในตลาดได้อย่างรวดเร็วและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในระดับสากล

ในทำนองเดียวกัน องค์กรธุรกิจจำนวนมากต่างเลือกที่จะ Outsource กระบวนการทางธุรกิจ (Business Process Outsourcing) เช่น การบริการลูกค้า การบัญชีการเงิน การจัดซื้อจัดหา ไปให้ผู้ให้บริการรายใหญ่ เพื่อให้สามารถโฟกัสไปที่การดำเนินธุรกิจหลักขององค์กรได้อย่างเต็มที่

ดังนั้น จะเห็นได้ว่าในยุคดิจิทัลทรานสฟอร์เมชันนี้ การ Outsource มีบทบาทสำคัญในการเพิ่มความยืดหยุ่น ลดภาระการลงทุน และช่วยให้องค์กรสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันและการอยู่รอดในโลกธุรกิจยุคดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนี้

siamrajathanee-so

SO ผู้นำด้านธุรกิจเอาท์ซอร์สแบบครบวงจร หนึ่งเดียวในตลาดหลักทรัพย์ของประเทศไทย ที่นำ Tech-enabled outsourcing solution เข้ามาพัฒนาธุรกิจของลูกค้าให้มีประสิทธิภาพที่ดีมากยิ่งขึ้น และทาง SO ยังมีการเพิ่มศัพยภาพที่แข็งแกร่งอย่างไม่หยุดนิ่งด้วยการที่มีพันธมิตรทางธุรกิจหลากหลายกลุ่มอุตสาหกรรทั้งไทยและทั่วโลก เพื่อมอบประโยชน์สูงสุดให้กับลูกค้า ด้วยบริการที่ครอบคุลมและพร้อมตอบโจทย์ทุกความต้องการในการพัฒนาธุรกิจ

Service 4 Level สำหรับทุกธุรกิจลูกค้า
1. Workforce Outsource บริการด้านบุคลากรในตำแหน่งต่างๆ เริ่มตั้งแต่การสรรหา การบริหารกำลังคน ไปจนถึงขั้นตอนการจัดการเรื่อง Payroll ครบทั้งกระบวนการ ปัจจุบัน SO บริหารบุคลากรกว่า 10,000 อัตรา ทั้งหน่วยงานราชการ และเอกชนกว่า 450 หน่วยงาน ทั่วประเทศ
2. Business Process Outsource (BPO) พัฒนาออกแบบ และบริหารจัดการกระบวนการทางธุรกิจ ที่เหมาะสมให้กับลูกค้า ด้วยการใช้ทรัพยากรด้านแรงงาน และเทคโนโลยี เพื่อการยกระดับเพิ่มประสิทธิภาพของผลลัพธ์ให้อยู่เหนือคู่แข่งของลูกค้า
3. Specialized Outsource บริการผู้เชี่ยวชาญสำหรับงานเฉพาะด้าน เช่น “รุกขกร” งานด้านตัดแต่งต้นไม้ และดูแลภูมิทัศน์ขนาดใหญ่, งานด้านการกำจัดของเสียสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม, การจัดหารรถพร้อมดัดแปลง และจดประกอบสำหรับงาน Logistic
4. IT Outsource & Platform บริการด้านการจัดหาบุคลากรด้าน IT และเทคโนโลยีผัจจุบัน เพื่อการพัฒนากระบวนการทำงาน เช่น เทคโนโลยี RPA, AI, OCR ฯลฯ พร้อมกับระบบที่ทาง SO พัฒนาขึ้น เช่น Digital Signature, ระบบ Time Attendance และระบบ Business Process Management (BPM)
 
จาก 4 Resource ของ SO ซึ่งเป็นส่วนหลักในการเติมเต็มให้กับ Service ทั้ง 4 Level
1.SO People ทรัพยากรด้ารบุคลากร มีความชำนาญด้านการสรรหา และคัดสรร พร้อมทั้งการพัฒนาทักษะให้กับพนักงานทุกท่าน ก่อนการจัดส่งให้บริการลูกค้า
2.SO Wheel จัดหารถเช่าทั่วไป และรถ EV ทุกประเภท พร้อมทั้งบริการดัดแปลงรถให้เหมาะสมกับธุรกิจลูกค้าตามต้องการ
3.SO Green ผู้เชี่ยวชาญด้านบริหารจัดการภูมทัศน์ หรือพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่ ทั้งการออกแบบ การดูแลต้นไม้ และสภาพแวดล้อมทั้งหมดในพื้นที่
4. SO Next บริหารจัดการข้อมูล หรือเอกสารจำนวนมาก และออกแบบกระบวนการทำงานให้กับธุรกิจลูกค้า ด้วย Lean & Digitize เพื่อการ Transformation อย่างมีประสิทธิภาพ
 

เป้าหมายของ SO คือการเป็นพันธมิตรและที่ปรึกษาให้แก่ลูกค้า โดยการมีส่วนร่วมในการกำหนดกลยุทธ์และนโยบายสำหรับการดำเนินธุรกิจ ด้วยบริการ Outsource แบบผสานงานด้านบุคลากร และเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน  เรียกว่า Tech-Enabled Outsourcing Solution เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการทำงาน พร้อมนำเสนอวิธีการในการแก้ปัญหาที่เหมาะสมสำหรับทุกธุรกิจ

การเอาท์ซอร์สช่วยให้องค์กรมุ่งเน้นไปที่ธุรกิจหลักได้อย่างเต็มที่ มีความยืดหยุ่นในการปรับขนาดธุรกิจตามสถานการณ์ ถ่ายโอนความเสี่ยงต่างๆ ให้ SO จัดการ พร้อมเข้าถึงเทคโนโลยีสมัยใหม่และนำหน้าคู่แข่ง เป็นการเปิดประตูสู่โอกาสใหม่ๆ ตามแนวคิด "Unlock Possibilities, SO Here We Are"

Five Forces Model และ บริการ Outsource ในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์

SO-สยามราชธานี-Siamrajathanee-Outsource-Outsourcing-Assistants-Consultant -fiveforcess-outsource

การปรับตัวและการนำกลยุทธ์ที่เหมาะสมมาใช้เป็นสิ่งสำคัญของธุรกิจ การวิเคราะห์ด้วย Five Forces Model ช่วยให้เห็นภาพรวมของการแข่งขันและความท้าทายในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ หนึ่งกลยุทธ์จะช่วยให้การบริหารจัดการธุรกิจคุณ คล่องตัวขึ้น คือการใช้บริการ Outsourcing มีบทบาทเข้าไปช่วยให้คุณมุ่งเน้นที่ธุรกิจหลักได้อย่างเต็มที่ เพิ่มความสามารถให้การขยายธุรกิจ ลดความเสี่ยงต่างๆในองค์กร และสามารถเข้าถึงนวัตกรรมใหม่ ทำให้ธุรกิจสามารถมุ่งเน้นที่การพัฒนาบริการหลักและสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ตัวอย่างการวิเคราะห์ Five Forces Model อุตสาหกรรมโลจิสติกส์

คู่แข่งใหม่ที่เข้ามาในตลาด (Threat of New Entrants)

อยู่ในระดับปานกลาง การเข้าสู่ตลาดต้องใช้เงินลงทุนสูงในการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน เทคโนโลยี และผ่านข้อกำหนดทางกฎหมายที่เข้มงวด อย่างไรก็ตาม ยังมีโอกาสสำหรับผู้เล่นใหม่ที่สามารถสร้างความแตกต่าง เช่น เทคโนโลยีใหม่, บริการเฉพาะกลุ่ม หรือพันธมิตรเชิงกลยุทธ์

อำนาจการต่อรองของซัพพลายเออร์ (Bargaining Power of Suppliers)

อยู่ในระดับปานกลางถึงสูง ด้วยจำนวนผู้จำหน่ายที่จำกัด การให้บริการที่เฉพาะทาง และต้นทุนในการเปลี่ยนที่สูง ทำให้ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบในการเลือกและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้จำหน่าย

อำนาจการต่อรองของลูกค้า (Bargaining Power of Buyers)

อยู่ในระดับสูง ผู้ซื้อรายใหญ่สามารถกดดันเรื่องราคาได้ ผนวกกับตัวเลือกผู้ให้บริการที่มีจำนวนมาก ทำให้ผู้ให้บริการต้องพยายามเสนอทั้งราคาที่แข่งขันได้และคุณภาพบริการที่โดดเด่น

ภัยคุกคามจากสินค้า/บริการทดแทน (Threat of Substitute Products or Services)

อยู่ในระดับปานกลาง จากทางเลือกในการขนส่งทางเลือกอื่นๆไม่ว่าจะเป็น ทางเลือกอื่นที่สามารถใช้ได้ตามประเภทสินค้าหรือความเร่งด่วน เช่น การขนส่งทางรถไฟ ทางอากาศ และทางเรือ อีกทั้งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเช่นการใช้โดรนหรือระบบอัตโนมัติในคลังสินค้า และการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ภายในองค์กรขนาดใหญ่เอง อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีโอกาสในการปรับตัวและพัฒนาเพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขัน

การแข่งขันในอุตสาหกรรม (Industry Rivalry)

อยู่ในระดับที่สูงมาก ด้วยจำนวนผู้เล่นที่มีอยู่มากมาย ทำให้การแข่งขันเป็นไปอย่างเข้มข้น ผู้เล่นต้องพยายามสร้างความแตกต่างผ่านนวัตกรรม ประสิทธิภาพการดำเนินงาน และการตอบสนองลูกค้าอย่างรวดเร็ว เพื่อรักษาตำแหน่งในตลาด

จากการวิเคราะห์ Five Forces Model โดยรวม อุตสาหกรรมโลจิสติกส์เผชิญปัญหาต้นทุนสูงทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐาน, พลังงาน, แรงงาน, และเทคโนโลยี รวมถึงการแข่งขันที่เข้มข้นจากผู้เล่นหลายราย จำเป็นต้องใช้นวัตกรรมและบริการที่มีคุณภาพเพื่อดึงดูดและรักษา การใช้บริการ Outsourcing สามารถเป็นกลยุทธ์สำคัญที่ช่วยลดต้นทุนการดำเนินงานและการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยี อีกทั้งยังเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการและดำเนินงาน ลดความเสี่ยงทางธุรกิจ และให้ธุรกิจมุ่งเน้นที่กิจกรรมหลักของตนเอง เพื่อเสริมสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันและเพิ่มโอกาสในการเติบโตของธุรกิจ

บทบาทของ Outsourcing ช่วยเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันในตลาดอุตสาหกรรมโลโลจิสติกส์ได้ยังไง

การจัดการยานพาหนะและการบำรุงรักษา บริษัทโลจิสติกส์สามารถใช้บริการ Outsourcing ในการดูแลและบำรุงรักษายานพาหนะที่ใช้ในการขนส่ง ซึ่งช่วยลดความซับซ้อนในการจัดการภายในองค์กรและรับประกันว่ายานพาหนะจะพร้อมใช้งานตลอดเวลา

การบริหารจัดการข้อมูล Outsourcing ด้านการจัดการข้อมูลเอกสาร ช่วยให้บริษัทสามารถโฟกัสที่การขนส่งและบริการลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับการจัดการข้อมูลภายใน

การจ้างงานและการจัดการแรงงาน การใช้บริการ Outsourcing ในการจ้างงานและการจัดการแรงงาน ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการสรรหาและฝึกอบรมพนักงาน โดยให้บริษัทที่มีความเชี่ยวชาญดูแลกระบวนการนี้แทน ซึ่งส่งผลให้บริษัทสามารถหาพนักงานได้ตรงตามความต้องการอย่างรวดเร็ว

การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม บริษัทโลจิสติกส์สามารถนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาใช้ในกระบวนการทำงาน เช่น ระบบการติดตามยานพาหนะ ,การใช้ AI ในการวิเคราะห์ข้อมูลเส้นทางและลดต้นทุนในการดำเนินงานได้ โดยไม่ต้องลงทุนเอง

การบริการลูกค้าและการจัดการคำสั่งซื้อ Outsourcing ด้านการบริการลูกค้าและการจัดการคำสั่งซื้อ ช่วยให้บริษัทสามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว ทันใจและมีประสิทธิภาพ ซึ่งช่วยเพิ่มความพึงพอใจกับลูกค้า เพิ่มโอกาสในการใช้บริการครั้งต่อไป

การใช้บริการ Outsourcing ในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ของประเทศไทยมีบทบาทสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็นการลดต้นทุนการดำเนินงาน เพิ่มความยืดหยุ่นในการตอบสนองต่อความต้องการของตลาด เข้าถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัย เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน หรือการให้บริการที่ครอบคลุมและเฉพาะทาง ทั้งหมดนี้ช่วยเสริมอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ของประเทศไทยให้ก้าวหน้าและเติบโตได้อย่างมั่นคง ดังนั้น ไม่ว่าในอุตสาหกรรมใด การใช้บริการ Outsourcing ย่อมเป็นทางเลือกที่คุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ

บริการบริหารข้อมูล ภายในองค์กร และจัดหาพนักงาน IT Outsource

So Next มุ่งเน้นให้บริการด้าน Lean Transformation และ Digitalization ในองค์กร ผ่านการให้คำปรึกษา ออกแบบกระบวนการ ค้นหาเครื่องมือที่เหมาะสม และบริหารโครงการ โดยมีเป้าหมายให้ลูกค้าสามารถโฟกัสที่ธุรกิจหลัก ปรับขนาดธุรกิจได้อย่างยืดหยุ่น ลดความเสี่ยง และสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ในองค์กร

สนใจบริการ

บริหารจัดการ “พนักงาน” ให้ลงตัวปิด ปัญหาธุรกิจ “คนล้น-คนขาด”

ปัญหาธุรกิจ มีให้พบเห็นกันอยู่เสมอไป แต่ธุรกิจหลายแห่งกำลังเผชิญปัญหาการวางแผนกำลังคนในแต่ละเดือนที่มีความต้องการใช้จำนวนไม่เท่ากัน บางเดือนคนขาดจนทำให้งานล้นมือ บางเดือนก็เหลือพนักงานเยอะจนคนล้นงาน ปัญหานี้ส่งผลต่อต้นทุน ประสิทธิภาพ และ การวางแผน ดังนั้นการจัดสรรทรัพยากรมนุษย์อย่างเหมาะสมจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความสำเร็จและความยั่งยืนของธุรกิจในระยะยาว

ปัญหาธุรกิจ ที่เกิดขึ้นจากการที่คุณต้องใช้จำนวนพนักงานไม่เท่ากัน
ในแต่ละช่วง

  • ความผันผวนของปริมาณงาน: ธุรกิจบางประเภทมีปริมาณงานที่ผันผวนตามฤดูกาล เทรนด์ หรือแคมเปญ ส่งผลต่อความต้องการพนักงานที่ไม่เท่ากัน
  • การคาดการณ์ความต้องการพนักงาน: การคาดการณ์ความต้องการพนักงานที่แม่นยำทำได้ยาก ส่งผลต่อการจ้างพนักงานที่ไม่เพียงพอหรือมากเกินไป
  • ต้นทุน: การจ้างพนักงานประจำนวนมากเกินไปในช่วงที่มีงานล้นมือ ส่งผลต่อต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น
  • ประสิทธิภาพ: การจ้างพนักงานไม่เพียงพอในช่วงที่มีงานล้นมือ ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน และอาจทำให้ลูกค้าไม่พอใจ
  • สภาพการจ้างตามกฏหมายแรงงาน: ในการปรับสภาพการจ้างงานที่ต้องเปลี่ยนแปลงอยู่เป็นประจำ

ตัวอย่าง ปัญหาธุรกิจ การผลิตรถยนต์

สถานการณ์ความผันผวนตามฤดูกาล

  • ช่วงฤดูท่องเที่ยว: ยอดขายรถยนต์พุ่งสูง ต้องการพนักงานจำนวนมากเพื่อเพิ่มกำลังการผลิต
  • ช่วงโลว์ซีซั่น: ยอดขายรถยนต์ต่ำ ต้องการพนักงานจำนวนน้อย

สถานการณ์การเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่

  • ช่วงก่อนเปิดตัว: ต้องการพนักงานจำนวนมากเพื่อเตรียมการผลิต
  • หลังเปิดตัว: ยอดขายอาจผันผวน ต้องการพนักงานน้อยลง

ตัวอย่าง ปัญหาธุรกิจ บริการ เช่น ห้างสรรพสินค้า

สถานการณ์ความผันผวนตามฤดูกาล

  • ช่วงวันหยุด เทศกาล: ต้องการพนักงานในตำแหน่งต่างเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการ ไม่ว่าจำเป็น พนักงานประชาสัมพันธ์ , พนักงานต้อนรับ , พนักงานขาย , พนักงานแคชเชียร์ , พนักงานบริการลูกค้า , พนักงานรักษาความปลอดภัย และอื่นๆ
  • ช่วงวันธรรมดา: ลูกค้าเข้าใช้บริการลดน้อยลง จึงต้องการพนักงานในตำแหน่งต่างๆลดน้อยลง

สถานการณ์เมื่อมีกิจกรรมทางการตลาด

  • ช่วงที่มีกิจกรรมส่งเสริมการขาย: ต้องการพนักงานในตำแหน่งต่างๆเพิ่มขึ้น และจะเป็นต้องมีพนักงานในส่วนของการตลาด เพื่อจัดทำกิจกรรมส่งเสริมการขายให้บรรลุเป้าหมาย
  • หลังจบกิจกรรม: ความต้องการในการใช้พนักงานในส่วนการตลาดลดน้อยลง บางส่วนอาจไม่จำเป็นต้องใช้พนักงานในส่วนนี้

เมื่อเกิดสถานการณ์เหล่านี้ ธุรกิจคุณจะจัดการอย่างไร ?

จ้างพนักงานมารอไว้ ?

หาพนักงานแบบกระทันหันเมื่อจำเป็นต้องใช้ ?

     ลองมาดูข้อเปรียบเทียบ :

ด้านต้นทุน

  • การจ้างพนักงานมารอไว้ก่อน: อาจมีต้นทุนการจ้างงานที่สูงกว่า เนื่องจากต้องจ่ายเงินเดือน สวัสดิการ และผลประโยชน์อื่นๆ แม้ในช่วงที่ไม่มีงานทำก็ตาม
  • การหาพนักงานกระทันหัน: ช่วยลดต้นทุนเนื่องจากจ้างพนักงานเฉพาะเมื่อมีความต้องการ แต่อาจมีต้นทุนเพิ่มเติมจากการต้องหาพนักงานในระยะเวลาสั้นๆ หรือต้องจ่ายค่าแรงสูงกว่าปกติเพื่อดึงดูดให้พนักงานมาทำงาน

ด้านประสิทธิภาพ

  • การจ้างพนักงานมารอไว้ก่อน: สามารถเพิ่มประสิทธิภาพได้ เนื่องจากพนักงานมีเวลาปรับตัวและเรียนรู้งาน ทำให้พร้อมที่จะทำงานได้อย่างเต็มที่เมื่อมีความต้องการ
  • การหาพนักงานกระทันหัน: อาจส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพ เนื่องจากต้องใช้เวลาในการฝึกอบรมและปรับตัว ซึ่งอาจทำให้การทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพในช่วงแรก

ด้านการบริการลูกค้า

  • การจ้างพนักงานมารอไว้ก่อน: ช่วยให้บริการลูกค้าอย่างต่อเนื่องและมีคุณภาพ เนื่องจากพนักงานมีความคุ้นเคยกับงานและสามารถตอบสนองความต้องการได้ทันท่วงที
  • การหาพนักงานกระทันหัน: อาจส่งผลกระทบต่อการบริการลูกค้า เนื่องจากการขาดความต่อเนื่องและการต้องปรับตัวของพนักงานใหม่

ด้านการบริหารจัดการพนักงาน

  • การจ้างพนักงานมารอไว้ก่อน: ช่วยให้การบริหารจัดการพนักงานเป็นไปอย่างราบรื่น เนื่องจากสามารถวางแผนและปรับใช้ทรัพยากรได้ตามความต้องการ แต่ก็ต้องแลกกับการบริหารจัดการพนักงานในจำนวนที่มากกว่าเดิม
  • การหาพนักงานกระทันหัน: อาจทำให้การบริหารจัดการพนักงานซับซ้อนขึ้น เนื่องจากต้องตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและการจัดสรรทรัพยากรอาจไม่เพียงพอ

ด้านการสรรหาพนักงาน

  • การจ้างพนักงานมารอไว้ก่อน: ช่วยลดความเร่งด่วนและความกดดันในการสรรหาพนักงาน เนื่องจากสามารถวางแผนการสรรหาได้ล่วงหน้า แต่ต้องใช้ระยะเวลาในการสรรหาพนักงานที่มากขึ้น จากจำนวนพนักงานที่ต้องการมาก ซึ่งอาจทำให้เสียเวลาไปกับกระบวนการนี้
  • การหาพนักงานกระทันหัน: อาจเพิ่มความท้าทายในการสรรหาพนักงาน เนื่องจากต้องหาพนักงานที่มีคุณภาพในระยะเวลาสั้นๆ และอาจต้องเผชิญกับการแข่งขันสูงในตลาดแรงงาน และด้วยความเร่งรีบนี้ก็มาพร้อมความเสี่ยงในการสรรหา ในหลายๆเรื่อง ทั้งเรื่องเวลาในการสรรหากับเวลาที่ต้องการใช้ ทั้งจำนวน และคุณสมบัติพนักงาน ความเสี่ยงเหล่านี้สามารถส่งผลต่อการดำเนินงานของธุรกิจคุณได้

ให้ SO People ช่วยแก้ปัญหาให้ธุรกิจคุณ :

  • หมดกังวลเรื่องการ เพิ่ม-ลด จำนวนพนักงาน สามารถปรับจำนวนพนักงานได้ตามที่คุณต้องการ
  • หากไม่สามารถประมาณการได้ว่าต้องใช้จำนวนพนักงานเท่าไหร่ เราพร้อมเป็นที่ปรึกษาในการช่วยวางแผนให้คุณได้
  • หากต้องการพนักงานด่วน เร่งรีบในการหาพนักงาน เราสามารถสรรหาให้คุณได้อย่างรวดเร็ว ด้วยความสามารถในการเข้าถึงฐานข้อมูลพนักงานกว่า 200,000 คน พร้อมกับการใช้ Technology เข้ามาช่วยให้ประสิทธิภาพการสรรหาดียิ่งขึ้น
  • ไม่ต้องกังวลเรื่องประสิทธิภาพพนักงาน เราใส่ใจทุกการสรรหา พนักงานของเราทุกคนผ่านการอบรมและทดสอบจากผู้เชี่ยวชาญ​ พร้อมส่งมอบให้คุณ

ที่ปรึกษาด้านการบริหารบุคคลากร ให้บริการจัดหาด้วยทีมผู้เชี่ยวชาญด้าน Recruit Management พร้อมทีม Training อบรมทักษะพนักงานก่อนการเริ่มงาน เสริมด้วยเทคโนโลยี Payroll Management System เพื่อการบริหารจัดการที่ถูกต้อง แม่นยำ เพิ่มศักยภาพให้กับกระบวนการมากยิ่งขึ้น

ต้องการคำปรึกษา

SO ปลดล็อค หนึ่งในกลุ่มธุรกิจการเงินใช้ Outsourcing Solution พลิกผลการดำเนินงานโตเกินคาด 300% ด้วยกำลังคนเท่าเดิม

SO ช่วยปลดล็อค หนึ่งในบริษัทด้านการเงินของไทย สร้างผลการดำเนินงานเติบโตทะลัก 300% จากการที่เข้าไปช่วยปรับกระบวนการทำงาน เป็นส่วนหนึ่งในกลยุทธ์องค์กร แก้ปัญหางานล้นมือ ปัญหาด้านแรงงาน ไม่สามารถจัดการกับข้อมูลจำนวนมากได้ ตามไม่ทันเทคโนโลยีที่ก้าวกระโดดอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน

บริษัท สยามราชธานี จำกัด (มหาชน) หรือ SO ผู้นำด้านธุรกิจเอาท์ซอร์สที่มีพาร์ทเนอร์ด้านเทคโนโลยีระดับโลก ใช้โมเดล Tech-enabled outsourcing solution  เข้ามาพัฒนาธุรกิจให้มีประสิทธิภาพแบบครบวงจรหนึ่งเดียวในตลาดหลักทรัพย์ไทย ได้รวมเป็นพันธมิตรกับหนึ่งในบริษัทด้านการเงินชั้นนำระดับประเทศของไทย ซึ่ง ประสบปัญหาในเรื่องของการจัดการข้อมูลด้านเอกสารจำนวนมาก ซึ่งไม่สามารถจัดการตามระยะที่กำหนดได้ จึงได้มอบหมายให้ SO เป็นผู้ดูแลจัดการกับงานด้านข้อมูลขนาดใหญ่ที่สำคัญขององค์กร

โดย SO ได้ให้คำปรึกษา พร้อมช่วยออกแบบกระบวนการทำงาน ไปจนถึงการจัดหาอุปกรณ์ และเทคโนโลยีเสริมรองรับการจัดการกับข้อมูลทั้งหมดที่มี โดยจากการจัดส่งบุคลากรแบบ Head Count ในระยะแรก จนไปสู่การ Re-design กระบวนการทำงานใหม่ เพื่อบริหารจัดการข้อมูลทั้งหมดของธุรกิจ หรือที่เรียกว่า Business Process Outsourcing (BPO) ส่งผลให้ธุรกิจลูกค้า สร้างผลการดำเนินงานโตสูงถึง 300% เพราะใช้บุคลากรหลักขององค์กรเท่าเดิม และใช้ SO เป็นกลยุทธ์หลักเพื่อจัดการกับงานส่วนดังกล่าวแทน คุณณัฐพล วิมลเฉลา (คุณกอล์ฟ ตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร) กล่าวว่า “การเป็นพันธมิตรกับหนึ่งในกลุ่มธุรกิจการเงินชั้นนำของไทยในครั้งนี้ ถือเป็นหนึ่งในตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จของทาง SO ในการ Re-Purpose องค์กร เข้าไปเป็นส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย และเป็นกลยุทธ์องค์กรของลูกค้า ด้วยการปรับกระบวนการทำงาน เป็นการให้บริการรูปแบบ Business Process Outsourcing (BPO) ช่วยปลดล็อคศักยภาพการทำงานของลูกค้า ให้ลูกค้าได้ Focus Core Business หลักได้อย่างเต็มที่ เข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ๆสำหรับการบริหารงาน สามารถยืดหยุ่น หรือ Scale Up Scale Down ด้านกำลังคนได้อิสระ ถ่ายโอนความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นให้กับ Outsource เป็นคนจัดการ ตามคอนเซปท์ Unlock Possibilities SO Here We Are ที่ทางทีมงานเราเน้นหนักในปีนี้”

การเป็น Outsourcing Solution ในครั้งนี้ของ SO เป็นรูปแบบที่ให้บริการอย่างครอบคลุมทุกส่วนของกระบวนการ เริ่มจากการให้บริการจัดส่งบุคลากรในระยะแรก พัฒนาเป็นการวิเคราะห์ออกแบบเป็นขั้นตอนการทำงานทั้งหมด เริ่มตั้งแต่การขนส่งข้อมูล การตรวจสอบคัดแยกข้อมูลเอกสาร และการคีย์ข้อมูลเข้าระบบ การจัดหา Workforce ที่เหมาะสมกับงาน, การอบรมเสริมทักษะ เสริมด้วยเทคโนโลยีติดตามการทำงานแบบ Real Time เพิ่มความถูกต้องแม่นยำ และป้องกันการสูญหายของข้อมูล เพื่อการส่งมอบผลลัพธ์อย่างมีประสิทธิภาพให้กับลูกค้า ทำให้ลูกค้ามีเวลาโฟกัสงานหลักอื่นขององค์กร ด้วยการใช้บุคลากรหลักขององค์กรเท่าเดิม โอนถ่ายความเสี่ยงด้านการบริหารบุคลากรให้กับ SO เป็นกลยุทธ์หลักในการบริหารข้อมูลมากว่า 100,000,000 ข้อมูล

นอกเหนือจากการ Outsourcing Solution ด้านบุคลากร และกระบวนการทำงานแล้ว SO ยังช่วยลูกค้าเตรียมความพร้อมรับมือกับสภาวะวิกฤตจากสถานการณ์ฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยเป็นส่วนหนึ่งในการออกแบบ Business Continuity Plan (BCP) ซึ่งเป็นแผนบริหารความต่อเนื่องของธุรกิจ ตามมาตรฐานสากล ISO : 27001 ในสถานการณ์ฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ภัยพิบัติน้ำท่วม, เหตุฉุกเฉินจากไฟไหม้ หรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่อาจส่งผลกระทบทำให้การดำเนินงานติดขัด สร้างความเชื่อมั่นให้กับงานบริการมากยิ่งขึ้นไปอีกขั้น ด้วยคอนเซปท์ UNLOCK POSSIBILTIES, SO HERE WE ARE.

การพัฒนาองค์กร ด้วย Outsource กลยุทธ์สำคัญสำหรับธุรกิจยุคใหม่

การพัฒนาองค์กร โดยใช้บริการ Outsource หรือการจ้างบริการภายนอกได้กลายเป็นกลยุทธ์ที่องค์กรหลายแห่งใช้ เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและเร่งกระบวนการพัฒนาธุรกิจ บทความนี้จะทำความเข้าใจว่าการ Outsource สามารถช่วยพัฒนาองค์กรได้อย่างไร และองค์กรประเภทใดที่ควรพิจารณาใช้กลยุทธ์นี้

การ Outsource คืออะไร?

การ Outsource คือการจ้างบุคคล หรือบริษัทภายนอก ให้รับผิดชอบดำเนินงานหรือบริการที่อาจจำเป็น แต่ไม่ใช่กิจกรรมหลักขององค์กร การทำเช่นนี้ช่วยให้องค์กรสามารถมุ่งเน้นทรัพยากรไปยังด้านที่มีความสำคัญ และมีค่าให้กับกิจการมากที่สุด

การใช้ Outsource เป็น การพัฒนาองค์กร อย่างไร?

  • เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน: การมอบหมายงานให้กับผู้เชี่ยวชาญ ที่มีทักษะเฉพาะทางจะช่วยให้องค์กรสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้ เนื่องจากงานเหล่านั้นจะได้รับการดูแลโดยผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์สูง
  • สร้างนวัตกรรม: ด้วยการทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากภายนอก องค์กรสามารถรับทราบเทคนิคใหม่ๆ และแนวคิดที่สามารถนำมาใช้ เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ
  • ความเร็วในการตอบสนองตลาด: การ Outsource บางอย่างเช่นการพัฒนาซอฟต์แวร์ การตลาดดิจิทัล หรือการบริการลูกค้าสามารถช่วยให้องค์กรสามารถตอบสนองต่อความต้องการของตลาดได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
  • ความยืดหยุ่นและการปรับขนาด: การ Outsource ช่วยให้องค์กรสามารถปรับขนาดการดำเนินงานได้ตามความต้องการโดยไม่ต้องลงทุนมากเกินไป ซึ่งช่วยให้สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาดได้อย่างมีความยืดหยุ่น

องค์กรแบบไหนควรใช้ Outsource?

  • องค์กรที่ต้องการความยืดหยุ่นในการจัดการทรัพยากร: องค์กรที่มีความต้องการทรัพยากรที่ไม่แน่นอนหรือมีความผันผวนสูง สามารถใช้ประโยชน์จากการ Outsource เพื่อรับมือกับความต้องการเหล่านั้นได้โดยไม่ต้องลงทุนในการจ้างงานถาวร
  • องค์กรที่ต้องการเพิ่มทักษะหรือความเชี่ยวชาญพิเศษ: บางครั้งองค์กรอาจต้องการทักษะพิเศษที่ไม่มีอยู่ภายใน การ Outsource ให้ผู้เชี่ยวชาญด้านนั้นสามารถช่วยให้องค์กรสามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพและแข่งขันได้ดียิ่งขึ้น
  • องค์กรที่ต้องการควบคุมต้นทุน: การจ้างงานบริการภายนอกมักจะมีต้นทุนที่ต่ำกว่าการจ้างพนักงานถาวรเนื่องจากลดค่าใช้จ่ายในการบริหารและสวัสดิการต่างๆ การ Outsource จึงเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับองค์กรที่ต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย

แนวทางการวิเคราะห์เพื่อ การพัฒนาองค์กร

การพัฒนาองค์กรเป็นกระบวนการที่ต้องมีการวางแผนและดำเนินการอย่างรอบคอบ เพื่อให้แน่ใจว่าองค์กรสามารถเติบโต และปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ และนี่คือขั้นตอนที่สำคัญในการเริ่มต้นกระบวนการพัฒนาองค์กร:

การวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน

ก่อนอื่นต้องเริ่มจากการวิเคราะห์และประเมินสถานะปัจจุบันขององค์กร เพื่อทำความเข้าใจถึงจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการดำเนินงาน ผลิตภัณฑ์ ตลาด และการแข่งขัน เพื่อระบุปัจจัยที่ต้องพัฒนาหรือปรับปรุง

การกำหนดวิสัยทัศน์และเป้าหมาย

หลังจากที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันแล้ว องค์กรควรกำหนดวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน และเป้าหมายระยะสั้นและระยะยาว วิสัยทัศน์ควรสะท้อนถึงทิศทางที่องค์กรต้องการเดินไปสู่ในอนาคต ในขณะที่เป้าหมายควรเป็นสิ่งที่วัดผลได้และสามารถทำให้เป็นจริงได้

การวางแผนกลยุทธ์เพื่อ การพัฒนาองค์กร

กลยุทธ์คือแผนการที่จะช่วยให้บรรลุวิสัยทัศน์และเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ ควรพิจารณาการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ รวมถึงการวางแผนในการพัฒนาทักษะของพนักงาน การปรับปรุงกระบวนการทำงาน และการนำเทคโนโลยีมาใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและการแข่งขันขององค์กร

การดำเนินการและการติดตามผล

หลังจากวางแผนกลยุทธ์แล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการดำเนินการตามแผนที่วางไว้ และต้องมีการติดตามผลการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้แน่ใจว่าแผนการดำเนินงานนั้นเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด และสามารถปรับเปลี่ยนแผนได้หากมีสถานการณ์เปลี่ยนแปลง

การประเมินผลและการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

การพัฒนาองค์กรเป็นกระบวนการที่ไม่มีที่สิ้นสุด องค์กรควรมีการประเมินผลอย่างต่อเนื่องและค้นหาโอกาสในการปรับปรุง เพื่อให้แน่ใจว่าองค์กรยังคงสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจและความต้องการของลูกค้าได้อย่างเหมาะสม

การพัฒนาองค์กรเป็นกระบวนการที่ต้องการความเอาใจใส่และการมุ่งมั่นจากทุกส่วนขององค์กร เมื่อทำได้ดี ไม่เพียงแต่จะช่วยให้องค์กรเติบโตและประสบความสำเร็จ แต่ยังช่วยให้สามารถสร้างคุณค่าให้กับลูกค้าและสังคมได้อย่างยั่งยืน.

โดยสรุปว่า

การใช้บริการ Outsource เป็นกลยุทธ์ที่มีประโยชน์มากสำหรับองค์กรที่ต้องการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันและความยืดหยุ่นในการดำเนินงาน ด้วยการใช้ผู้เชี่ยวชาญจากภายนอก องค์กรสามารถเพิ่มประสิทธิภาพ สร้างนวัตกรรม และตอบสนองต่อความต้องการของตลาดได้อย่างรวดเร็ว การเลือกใช้บริการ Outsource อย่างชาญฉลาดจะช่วยให้องค์กรสามารถทำงานได้มีประสิทธิผลและทำให้บรรลุเป้าหมายในระยะยาว

 

Unlock Possibility SO Here We Are

 

SO ผู้นำด้านธุรกิจเอาท์ซอร์สแบบครบวงจร  

หนึ่งเดียวในตลาดหลักทรัพย์ของประเทศไทย ที่นำ Tech-enabled outsourcing solution เข้ามาพัฒนาธุรกิจของลูกค้าให้มีประสิทธิภาพที่ดีมากยิ่งขึ้น และทาง SO ยังมีการเพิ่มศัพยภาพที่แข็งแกร่งอย่างไม่หยุดนิ่งด้วยการที่มีพันธมิตรทางธุรกิจหลากหลายกลุ่มอุตสาหกรรทั้งไทยและทั่วโลก เพื่อมอบประโยชน์สูงสุดให้กับลูกค้า ด้วยบริการที่คลอบคุลมและพร้อมตอบโจทย์ทุกความต้องการในการพัฒนาธุรกิจ ได้แก่ 

  1. SO Next: โซลูชันด้านการ Lean & Digitization ปรับองค์กรให้คล่องตัวขึ้น โดยให้บริการด้านการจัดการข้อมูล (Data Solution) ด้านแพลตฟอร์มทางธุรกิจ เช่น Business Process Management และด้าน IT Outsource Operation เพื่อสรรหาบุคลากรด้าน IT SO ผู้ให้บริการ KYC และ Tech-Enabled Outsourcing 
  2. SO People: โซลูชันการจัดหาและบริหาร Workforce ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี เช่น พนักงานขับรถ, พนักงานธุรการ, พนักงานบัญชี ,ช่างเทคนิค รวมถึงบริการจัดหาแรงงานต่างด้าว เป็นต้น 
  3. SO Green: โซลูชันบริหารภูมิทัศน์ด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านพื้นที่สีเขียวและไม้ใหญ่ โดยทีมออกแบบและรุกขกรมืออาชีพ 
  4. SO Wheel: ผู้นำด้านรถดัดแปลงและรถเช่าเชิงพาณิชย์ พร้อมระบบติดตามและจัดการยานพาหนะที่สามารถแจ้งเตือนตำแหน่งรถ,อันตราการใช้ความเร็ว  รอบการ Maintenance ไปจนถึงระบบการจองรถส่วนกลางสำหรับองค์กรขนาดใหญ่อีกด้วย นอกจากการมุ่งเน้นพัฒนาบริการให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าแล้ว SO พร้อมสานต่อความสำเร็จจากผลประกอบการในปี 2023 ที่เติมโตต่อเนื่องกว่า 30% ด้วยการยกระดับการให้บริการ สู่ Journey to Next-Level Outsourcing ในปี 2024 พร้อมดำเนินการผ่าน 3 Empower ได้แก่ 

Empower Brand เดินหน้าสู่ การเป็น Tech-enabled Outsourcing ด้วยการผสานเทคโนโลยีเข้ามาในทุกกระบวนการทำงาน เพื่อเพิ่มศักยภาพของ SO ให้แข็งแกร่งและพร้อมส่งมอบบริการที่มีคุณภาพให้แก่ลูกค้าของเรา 

Empower Sales ด้วยการ Up Skills สู่การเป็นที่ปรึกษากระบวนการทางธุรกิจ พร้อมนำเสนอทางเลือกใหม่ๆ ให้กับลูกค้า เพื่อตอบโจทย์ Pain Point และใช้ Outsouce ในการเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ในการพัฒนาองค์กร 

Empower Operation พัฒนาระบบ Lean & Digitization เสริมแกร่งให้ทีมปฎิบัติการของ SO เพิ่มศักยภาพของทีม ให้สามารถบริหารโครงการได้อย่างรวดเร็วถูกต้องและมีประสิทธิภาพสูงสุด 

เพื่อมุ่งสู่การเป็น Strategic Partners ที่พร้อมส่งมอบ Solutions ที่ดีที่สุด ตอบโจทย์ทุกความต้องการของลูกค้าและช่วยขับเคลื่อนธุรกิจของ SO และพาร์ทเนอร์ให้เติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน” 

การใช้ Outsource เป็น การลดความเสี่ยงทางธุรกิจ ได้อย่างไร

การใช้ Outsource ช่วยใน การลดความเสี่ยงทางธุรกิจ ได้อย่างไร

การลดความเสี่ยงทางธุรกิจ และคาดการณ์ปัญหาล่วงหน้าเป็นกลยุทธ์สำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จ หนึ่งในวิธีที่ธุรกิจหลายแห่งเลือกใช้เพื่อลดความเสี่ยงและเพิ่มความยืดหยุ่นคือ “การใช้บริการ Outsource” หรือ การจ้างงานภายนอก

Outsource คืออะไร

Outsource หมายถึง การมอบหมายงานหรือ Process งานบางส่วน หรือทั้งหมด ให้กับบริษัทหรือผู้ให้บริการภายนอกจัดการแทน วิธีนี้ช่วยให้ธุรกิจสามารถโฟกัสไปที่งานหรือกระบวนการหลักของธุรกิจตัวเอง ขณะที่ปล่อยให้งานที่ต้องการความเชี่ยวชาญเฉพาะหรืองานที่ต้องการจำนวนคนไม่คงที่ ถูกจัดการโดยผู้เชี่ยวชาญอย่าง SO Outsourcing

ทำไม Outsource ถึงช่วยใน การลดความเสี่ยงทางธุรกิจได้

  1. ลดความเสี่ยงด้าน Work Force : การจ้างงานภายนอกช่วยลดภาระในการจัดการทรัพยากรมนุษย์ เช่น การสรรหา ฝึกอบรม พัฒนา และรักษาพนักงาน รวมถึงการเพิ่ม ลดจำนวนคนในงานที่ไม่ใช่งานหลักของธุรกิจ
  2. ลดความเสี่ยงด้านเทคโนโลยี: การอัปเดตและดูแลระบบเทคโนโลยีต้องการทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญสูง การใช้ Outsource ช่วยให้ธุรกิจเข้าถึงเทคโนโลยีล่าสุดและผู้เชี่ยวชาญโดยไม่ต้องลงทุนในอุปกรณ์และซอฟต์แวร์
  3. ลดความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน: การมอบหมายงานที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับหลักการธุรกิจหลักให้กับผู้ให้บริการภายนอก ช่วยลดความซับซ้อนในการดำเนินงานและลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง เพราะ Outsource จะมา Take Risk ในกระบวนการทั้งหมดแทน
  4. ลดความเสี่ยงด้านการเงิน: Outsource ช่วยให้ธุรกิจควบคุมค่าใช้จ่ายได้ดีขึ้น โดยจ่ายเฉพาะงานที่ต้องการ ไม่ต้องลงทุนในทรัพยากรระยะยาว และยังสามารถ Predict ค่าใช้จ่ายในอนาคตได้อีกด้วย เนื่องจากเป็นค่าใช้จ่ายที่คงที่

เลือก Outsource ที่ช่วยใน การลดความเสี่ยงทางธุรกิจ ได้จริงต้องดูที่อะไร

การเลือกบริษัทหรือผู้ให้บริการภายนอก (Outsource) เพื่อรับผิดชอบงานบางส่วนหรือโครงการในองค์กรของคุณเป็นเรื่องที่ต้องใช้ความรอบคอบและการวางแผนอย่างมาก เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดและลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ดังนั้น เกณฑ์หลักในการเลือกผู้ให้บริการภายนอกควรคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ดังนี้:

  • 1.ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์: หาบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในด้านที่คุณต้องการ ดูผลงานที่ผ่านมาและขออ้างอิงเพื่อประเมินคุณภาพของงานและความสามารถในการส่งมอบผลลัพธ์ที่คาดหวัง
  • 2.คุณภาพและมาตรฐานการทำงาน: พิจารณามาตรฐานและกระบวนการทำงานของบริษัทเพื่อดูว่าตรงกับความต้องการขององค์กรคุณหรือไม่ รวมถึงการมีการรับรองคุณภาพเช่น ISO ซึ่งสามารถเป็นตัวบ่งชี้ถึงความมุ่งมั่นในการรักษามาตรฐาน
  • 3.การสื่อสารและการรายงาน: เลือกผู้ให้บริการที่มีระบบการสื่อสารและการรายงานที่ชัดเจน เพื่อให้คุณสามารถติดตามความคืบหน้าและมีการปรับเปลี่ยนได้อย่างทันท่วงที
  • 4.ความยืดหยุ่นและการปรับตัว: ดูว่าผู้ให้บริการมีความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนตามความต้องการของโครงการหรือไม่ ซึ่งรวมถึงความสามารถในการขยายหรือลดขนาดทีมงานตามความจำเป็น
  • 5.ต้นทุนและ ROI: ประเมินต้นทุนของการใช้บริการเทียบกับประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ โดยคำนึงถึงทั้งระยะสั้นและระยะยาว เพื่อให้แน่ใจว่าการตัดสินใจนั้นคุ้มค่ากับการลงทุน
  • 6.ความปลอดภัยและการปกป้องข้อมูล: ตรวจสอบว่าบริษัทมีนโยบายและมาตรการความปลอดภัยข้อมูลที่เข้มงวด เพื่อป้องกันการรั่วไหลหรือการสูญเสียข้อมูลสำคัญ
  • 7.ความเข้ากันได้ทางวัฒนธรรม: มีการทำงานร่วมกันได้ดีกว่ากับบริษัทที่มีวัฒนธรรมที่เข้ากันได้กับองค์กรของคุณ การมีค่านิยมและวิธีการทำงานที่คล้ายคลึงกันสามารถช่วยลดความขัดแย้งและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานร่วมกัน
  • 8.ตัวชี้วัดและการประเมินผล: มีตัวชี้วัด (KPIs) และกระบวนการประเมินผลที่ชัดเจนเพื่อวัดผลลัพธ์และประสิทธิภาพของการทำงาน

ตัวอย่างงาน Outsource ที่ช่วยลดความเสี่ยง

โดยสรุปว่า

การใช้ Outsource เป็นกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพในการ ลดความเสี่ยง และเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับธุรกิจ ด้วยการเลือกผู้ให้บริการที่เหมาะสมและการจัดการความสัมพันธ์อย่างมืออาชีพ ธุรกิจสามารถลดความเสี่ยงในหลายด้าน ทั้งในด้านทรัพยากรมนุษย์ การดำเนินงาน เทคโนโลยี และการเงิน ในขณะเดียวกันก็สามารถรักษาคุณภาพและความลับทางธุรกิจได้ การใช้ Outsource อย่างมีกลยุทธ์จึงเป็นก้าวสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถนำพาตนเองไปสู่ความสำเร็จในยุคสมัยที่ไม่แน่นอนนี้

Scale Up Scale Down, ปลดล็อคข้อจำกัดกำลังคนด้วย Outsourcing Solution, Save Cost ได้มากถึง 20%

จากการที่ SO ได้รับความไว้วางใจ ให้เข้าไปร่วมวางแผน ช่วยดูแลบริหารกระบวนการให้กับลูกค้าเสมือนเป็น Strategic Partner คนสำคัญ ทำให้ทุกธุรกิจ เกิดความยืดหยุ่นสามารถปรับเพิ่มหรือลดคนได้อย่างเต็มที่ ประสบผลสำเร็จได้ตามแผน นอกเหนือจากนั้น ยังส่งผลให้ลูกค้า Save Cost ได้มากถึง 20% ควบคุมประสิทธิภาพการจัดการบุคลากรได้ถึง 98% ลูกค้าสามารถไปโฟกัสส่วนอื่นขององค์กรได้อย่างเต็มที่ หมดกังวลเรื่องข้อจำกัดต่างๆ ให้ Outsource หรือ SO เป็นผู้จัดการและแบกรับความเสี่ยงส่วนอื่นแทน ตอบโจทย์คอนเซปท์ UNLOCK POSIBILITIES, SO HERE WE ARE.

ตัวอย่างจากลูกค้าของเราในกลุ่มอุตสาหกรรม Automotive รายใหญ่ของไทยรายหนึ่ง มีความต้องการปรับลด-เพิ่ม จำนวนพนักงาน 80 ถึง 300 อัตราต่อเดือนได้อย่างอิสระ ตาม Project Plan ในระยะเวลา 3 ปี ซึ่งเกิดข้อจำกัดในการจัดหาทรัพยากรแรงงานให้ทันเวลา การคัดสรรให้ได้คุณภาพ และความเสี่ยงด้านกฎหมายแรงงาน หรือการจ่ายเงินชดเชย ที่อาจเกิดขึ้นจากการปรับลดจำนวนแรงงานได้ ระหว่าง Project

SO ได้รับความไว้วางใจให้ดูแลจัดการกับข้อจำกัดดังกล่าว โดยการใช้ความสามารถด้านทรัพยากรบุคคล ดูแลให้ทั้งกระบวนการ เริ่มตั้งแต่การสรรหาและคัดสรรบุคลากร ด้วยทีม Recruit Management อบรมเพิ่มทักษะให้กับพนักงานทุกคนก่อนการเริ่มงาน จากทีม Training เฉพาะทาง ไปจนถึงขั้นตอนการบริหารค่าแรงด้วยระบบ Payroll Management System เพิ่มความถูกต้องให้กับการทำเงินเดือน ซึ่ง SO สามารถบริหารเพิ่มลดจำนวนพนักงานได้ตามความต้องการของงาน ทั้งพนักงานประจำและพนักงานทดแทน และยังสามารถ Relocate ให้กับพนักงานทั้งหมด สามารถให้บริการกับลูกค้ารายอื่นต่อได้หลังจบสัญญา อย่างไม่มีตกหล่นอีกด้วย

การ Scale Up / Scale Down คือหนึ่งในกลยุทธ์เพื่อการจัดการธุรกิจ ด้วยการปรับเพิ่มหรือลดขนาดขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ โดยต้องตอบสนองต่อสภาพตลาด และความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งการจะเริ่มต้น Scale Up / Scale Down ในองค์กรนั้น อาจเป็นไปได้ยาก เนื่องจากในแต่ละบริษัท มีข้อจำกัดที่แตกต่างกัน ตามลักษณะของแต่ละธุรกิจ เพราะด้วยเรื่องกฎหมายและความเชี่ยวชาญด้านสภาพการจ้าง การปรับเปลี่ยนลักษณะงาน ซึ่งจัดเป็นความเสี่ยง และส่งผลต่อการเพิ่มลดขนาดองค์กร หากคาดการณ์และประเมินผิดพลาด อาจส่งผลกระทบต่อต้นทุนและเสียโอกาสในการแข่งขัน

1. SO เข้าใจลูกค้าและลูกจ้าง จึงออกแบบ Solutions ที่รับความเสี่ยงแทนลูกค้า, SO เป็นเครื่องมือที่ทำให้ลูกค้าสร้างโอกาสในการแข่งขันและอยู่รอดในสถานการณ์คับขัน

2. SO มีประสบการณ์ บริหารบุคลากรมากว่า 47 ปี จึงออกแบบทางเลือกให้พนักงานได้หลากหลายรูปแบบ ด้วยไซด์งานที่มีให้เลือกกว่า 700 ไซด์ รองรับการจ้างงานได้มากกว่า 10,000 คน

3. SO มี Databases กว่า 200,000 คน รองรับความเสี่ยง การส่งพนักงานทดแทนการ เข้า-ออก

ลูกค้าสามารถบริหาร Core functions ได้อย่างมั่นใจ หมดห่วงเรื่องความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ และยังเพิ่มประสิทธิภาพให้กับกระบวนการทำงาน ให้ SO เป็นหนึ่งในกลยุทธ์ ที่ช่วยวางแผน ร่วมคิดนโยบาย เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจของคุณให้เติบโตไปพร้อมกัน UNLOCK POSIBILITIES, SO HERE WE ARE.

Subcontract กับ Outsource ต่างกันอย่างไร?

ในโลกธุรกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน การเสนอบริการหรือผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง องค์กรต่าง ๆ มักมองหาวิธีในการลดค่าใช้จ่าย ปรับปรุงประสิทธิภาพ และเพิ่มกำไร ในการดำเนินธุรกิจ การใช้บริการ Outsourcing และ Subcontracting เป็นกลยุทธ์ที่พึงสนใจเพื่อช่วยให้บริษัทประสบความสำเร็จในวัตถุประสงค์เหล่านี้ อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับนิยามและความแตกต่างระหว่าง Outsource และ Subcontract อาจมีความสงสัยเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างสองคำนี้ ดังนั้น เราจะมาอธิบายและเปรียบเทียบระหว่างสองอย่างนี้เพื่อให้คุณเข้าใจมากขึ้น

Outsource :

Outsource หมายถึง การให้ภาระงานหรือการดำเนินการบางอย่างให้กับบริษัทหรือบุคคลภายนอก โดยทั่วไปแล้ว เหตุผลหลักในการ Outsource คือเพื่อลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพ การ Outsource สามารถทำได้ทั้งในภาคธุรกิจเฉพาะหรือทั่วไป เช่น การ Outsource บริการพนักงานธุรการ ประชาสัมพันธ์ คนขับรถ หรือแม้กระทั่ง Programmer โดย Outsource จะรับผิดชอบในการดำเนินงานตามข้อกำหนดที่ระบุไว้ในสัญญาทั้งหมด และต้องให้ผลงานที่มีคุณภาพตามที่ตกลงกันไว้ หมายความว่า บริษัทที่จ้าง สามารถทำงานอื่นที่เป็นงาน Core Function หลักของบริษัทได้เลย นอกนั้น Outsource จัดการให้ทั้งหมด อ่านข้อดีของ Outsource ข้ออื่นๆได้ที่นี่

Subcontract :

เป็นการนำเสนอรูปแบบของการบริการรับจ้างเหมาแรงงาน โดยสามารถกล่าวเรียกได้ว่า “ผู้รับจ้างงานช่วง” หรือสามารถอธิบายการให้การบริการลักษณะนี้อย่างละเอียด กล่าวคือ การรับช่วงงานบางส่วนจากผู้รับเหมาหลักไปทำ โดยที่ผู้รับเหมาหลักจะยังคงเป็นผู้รับผิดชอบงานทั้งหมดเช่นเดิม หรืออาจจะเป็นงานที่ต้องการทักษะและความเชี่ยวชาญพิเศษเฉพาะด้านของในแต่ละสายอาชีพ ซึ่งบริการ Sub-contractor ไม่ได้จำกัดความต้องการที่องค์กรต้องการหาพนักงานอยู่เพียงแค่ตำแหน่ง พนักงานทำความสะอาด เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย เท่านั้น แต่ยังได้ขยายความต้องการไปถึง พนักงานผลิต พนักงานขนส่งสินค้า พนักงานขับรถ รวมถึงพนักงานตำแหน่งอื่นๆทั่วไปอีกด้วย ซึ่งทำให้หลากหลายองค์กรที่ต้องการใช้บริการในรูปแบบดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น

ความแตกต่างระหว่าง Outsource และ Subcontract :

  1. บทบาทของบริษัท Outsource และ Subcontract :
    • Outsource: บริษัทหรือบุคคลที่ Outsource จะรับผิดชอบในการดำเนินงานตามสัญญาและมีความรับผิดชอบต่อผู้ว่าจ้างทั้งหมด ทำให้ผู้ว่าจ้างถ่ายโอนความเสี่ยงทั้งหมดมาไว้ที่ Outsource ได้เลย
    • Subcontract: บริษัทจะรับผิดชอบในการดำเนินงานตามสัญญาและมีความรับผิดชอบต่อผู้ให้เปรียบเสมือนการว่าจ้างซ้อนอีกทีหนึ่งเท่านั้น
  2. ขอบเขตของงาน:
    • Outsource: การ Outsource มักเกี่ยวข้องกับการนำเสนอบริการหรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นลักษณะทั้วไป ที่จะต้องส่งมอบแรงงาน หรือผลงานตามที่ตกลงไว้ให้ผู้ว่าจ้าง
    • Subcontract: มักเกี่ยวข้องกับการให้บริการหรือดำเนินการที่เฉพาะเจาะจงและเกี่ยวข้องกับโครงการหรือสัญญาที่มีอยู่แล้ว และส่งมอบผลงานที่ได้รับมอบหมายให้ไปจัดการให้แล้วเสร็จโดยอาจจะจ้างบริษัทอื่นทำอีกที เปรียบเสมือนตัวกลางในการประสานงานให้เท่านั้น
  3. ความเชื่อถือได้:
    • Outsource: มักจะเป็นการที่เพิ่มความเชื่อถือในการทำธุรกิจ เนื่องจากบริษัท Outsource มักมีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ที่เชี่ยวชาญในงานที่มอบหมายในงานนั้นๆ
    • Subcontract:  ยังคงมีความเชื่อถือได้เช่นกัน แต่ขึ้นอยู่กับความสามารถและประสบการณ์ของบริษัท และหน่วยงานที่ประสานงานด้วย

ในทางปฏิบัติทั้งสองเป็นกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพในการช่วยลดค่าใช้จ่าย ปรับปรุงประสิทธิภาพ และเพิ่มกำไรให้กับองค์กร โดยการเลือกใช้กลยุทธ์ใดก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและวัตถุประสงค์ของธุรกิจแต่ละราย อย่างไรก็ตาม ความเข้าใจเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างสองสิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้การตัดสินใจเป็นไปอย่างมั่นคงและมีประสิทธิภาพ หวังว่าจากบทความนี้ คุณจะเข้าใจความแตกต่างระหว่าง เอาท์ซอส และซับคอนแทรคมากขึ้น

SO ผู้นำด้านธุรกิจเอาท์ซอร์สแบบครบวงจร  

หนึ่งเดียวในตลาดหลักทรัพย์ของประเทศไทย ที่นำ Tech-enabled outsourcing solution เข้ามาพัฒนาธุรกิจของลูกค้าให้มีประสิทธิภาพที่ดีมากยิ่งขึ้น และทาง SO ยังมีการเพิ่มศัพยภาพที่แข็งแกร่งอย่างไม่หยุดนิ่งด้วยการที่มีพันธมิตรทางธุรกิจหลากหลายกลุ่มอุตสาหกรรทั้งไทยและทั่วโลก เพื่อมอบประโยชน์สูงสุดให้กับลูกค้า ด้วยบริการที่คลอบคุลมและพร้อมตอบโจทย์ทุกความต้องการในการพัฒนาธุรกิจ ได้แก่ 

  1. SO Next: โซลูชันด้านการ Lean & Digitization ปรับองค์กรให้คล่องตัวขึ้น โดยให้บริการด้านการจัดการข้อมูล (Data Solution) ด้านแพลตฟอร์มทางธุรกิจ เช่น Business Process Management และด้าน IT Outsource Operation เพื่อสรรหาบุคลากรด้าน IT 
  2. SO People: โซลูชันการจัดหาและบริหาร Workforce ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี เช่น พนักงานขับรถ, พนักงานธุรการ, พนักงานบัญชี ,ช่างเทคนิค รวมถึงบริการจัดหาแรงงานต่างด้าว เป็นต้น 
  3. SO Green: โซลูชันบริหารภูมิทัศน์ด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านพื้นที่สีเขียวและไม้ใหญ่ โดยทีมออกแบบและรุกขกรมืออาชีพ 
  4. SO Wheel: ผู้นำด้านรถดัดแปลงและรถเช่าเชิงพาณิชย์ พร้อมระบบติดตามและจัดการยานพาหนะที่สามารถแจ้งเตือนตำแหน่งรถ,อันตราการใช้ความเร็ว  รอบการ Maintenance ไปจนถึงระบบการจองรถส่วนกลางสำหรับองค์กรขนาดใหญ่อีกด้วย นอกจากการมุ่งเน้นพัฒนาบริการให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าแล้ว SO พร้อมสานต่อความสำเร็จจากผลประกอบการในปี 2023 ที่เติมโตต่อเนื่องกว่า 30% ด้วยการยกระดับการให้บริการ สู่ Journey to Next-Level Outsourcing ในปี 2024 พร้อมดำเนินการผ่าน 3 Empower ได้แก่ 

Empower Brand เดินหน้าสู่ การเป็น Tech-enabled Outsourcing ด้วยการผสานเทคโนโลยีเข้ามาในทุกกระบวนการทำงาน เพื่อเพิ่มศักยภาพของ SO ให้แข็งแกร่งและพร้อมส่งมอบบริการที่มีคุณภาพให้แก่ลูกค้าของเรา 

Empower Sales ด้วยการ Up Skills สู่การเป็นที่ปรึกษากระบวนการทางธุรกิจ พร้อมนำเสนอทางเลือกใหม่ๆ ให้กับลูกค้า เพื่อตอบโจทย์ Pain Point และใช้ Outsouce ในการเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ในการพัฒนาองค์กร 

Empower Operation พัฒนาระบบ Lean & Digitization เสริมแกร่งให้ทีมปฎิบัติการของ SO เพิ่มศักยภาพของทีม ให้สามารถบริหารโครงการได้อย่างรวดเร็วถูกต้องและมีประสิทธิภาพสูงสุด 

เพื่อมุ่งสู่การเป็น Strategic Partners ที่พร้อมส่งมอบ Solutions ที่ดีที่สุด ตอบโจทย์ทุกความต้องการของลูกค้าและช่วยขับเคลื่อนธุรกิจของ SO และพาร์ทเนอร์ให้เติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน” 

โดยสรุปว่า ปัจจุบันโลกมีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม ส่งผลให้ทุกองค์กรต้องปรับตัวอยู่ตลอดเวลา การเลือกใช้บริการ Outsource อาจะไม่เพียงพอ เหล่าบริษัทชั้นนำหลายแห่งจึงมองหา Business Partnership ที่พร้อมทั้งด้าน Workforce และ เทคโนโลยี ที่สามารถช่วยในการวางแผนและปรับกลยุทธ์ในส่วนงานต่างๆ เพื่อเพิ่มความสามารถและประสิทธิภาพในการทำงานให้มากขึ้น พร้อมปรับตัวรับมือกับทุกความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

Unlock Possibility SO Here We Are