กลยุทธ์ทางธุรกิจ (Business Strategy) คือ แผนงานหรือชุดของแนวทางที่องค์กรจะใช้เพื่อบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ระยะยาว โดยมีการพิจารณาถึงทรัพยากรที่มี, สภาพแวดล้อมภายนอก, และการแข่งขันในตลาด กลยุทธ์ทางธุรกิจมีหลายรูปแบบ แต่ละรูปแบบมีจุดเน้นและวิธีการที่แตกต่างกัน ซึ่งบางครั้งอาจรวมถึงการเลือกตลาดเป้าหมาย, การกำหนดตำแหน่งสินค้าหรือบริการ, การพัฒนาสินค้าใหม่, การปรับปรุงกระบวนการผลิต, การวางแผนทางการเงิน, และการใช้เทคโนโลยีในการสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน
ปัจจัยในการเลือกปรับ กลยุทธ์ทางธุรกิจ
วัตถุประสงค์ขององค์กร : สิ่งที่องค์กรต้องการบรรลุ เช่น การเติบโต, การเพิ่มส่วนแบ่งตลาด, หรือความยั่งยืน
ทรัพยากรที่มี : ทั้งทรัพยากรทางการเงิน, บุคคล, เทคโนโลยี, และอื่นๆ
สภาพแวดล้อมทางการแข่งขัน : การวิเคราะห์คู่แข่งและการวางตำแหน่งของตัวเองในตลาด
แนวโน้มตลาดและความต้องการของลูกค้า : การตอบสนองต่อความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของลูกค้า
การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี : การใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อสร้างข้อได้เปรียบ กลยุทธ์ทางธุรกิจสามารถเป็นระดับต่างๆ ตั้งแต่กลยุทธ์ระดับองค์กร (Corporate Strategy), กลยุทธ์ระดับธุรกิจ (Business Unit Strategy), ไปจนถึงกลยุทธ์ระดับการดำเนินงาน (Operational Strategy) ทุกระดับกลยุทธ์นี้มีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนกันและกัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายระยะยาวขององค์กร. อาทิเช่น
– กลยุทธ์เชิงรุก (Offensive Strategies) เป็นกลยุทธ์ที่มุ่งเน้นการขยายธุรกิจ เข้าสู่ตลาดใหม่ หรือเพิ่มส่วนแบ่งของการตลาด
– กลยุทธ์เชิงรับ (Defensive Strategies) เป็นกลยุทธ์ที่มุ่งเน้นการรักษาฐานลูกค้าเดิม รักษาส่วนแบ่งในตลาด และเน้นกิจกรรภายในที่สามารถลดต้นทุนขององค์กรได้
– กลยุทธ์แบบผสมผสาน (Combination Strategies) เป็นกลยุทธ์ที่ผสมผสานระหว่างกลยุทธ์เชิงรุกและเชิงรับ
– กลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง (Differentiation Strategy) เป็นกลยุทธ์ที่มุ่งเน้นการสร้างสินค้าหรือบริการที่แตกต่างจากคู่แข่ง และสามารถแย่งส่วนแบ่งตลาดได้อย่างรวกเร็ว
– กลยุทธ์ต้นทุนต่ำ (Low-Cost Strategy) เป็นกลยุทธ์ที่มุ่งเน้นการลดต้นทุนในสายการผลิต เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการในราคาที่ต่ำกว่าคู่แข่ง
– กลยุทธ์การมุ่งเน้นกลุ่มลูกค้าเฉพาะ (Focus Strategy) เป็นกลยุทธ์ที่มุ่งเน้นการทำตลาดไปยังกลุ่มลูกค้าเฉพาะกลุ่ม เช่น สินค้าแฟชั่น อุปกรณ์ทางการแพทย์ และ เครื่องมือช่าง เป็นต้น
ปัจจัยเสี่ยงในปัจจุบันที่องค์กรต้องให้ความสำคัญ
การปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจมีปัจจัยเสี่ยงหลายด้านที่องค์กรต้องคำนึงถึง เพื่อให้สามารถนำไปสู่การตัดสินใจที่มีประสิทธิผลและลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้รวมถึง
การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี (Technological Advancements)ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในปัจจุบันที่มีมากขึ้น กลายเป็ฯความท้าทายใหม่และสามารถเข้ามาทดแทน ขั้นตอนหรือกระบวนการต่างๆขององค์กรได้ ซึ่งอาจทำให้กระบวนการต่างๆที่ธุรกิจใช้ในปัจจุบันกลายเป็นนสิ่งล้าสมัย ซึ่งหากองค์กรต้องการลดความเสี่ยงและผลกระทบจาก เทคโนโลยี องค์กรต้องมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการในการทำงาน โดยต้องมีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาปรับใช้มากขึ้น รวมถึงต้องคอยติดตามประเมิณผลของกิจกรรมต่างๆหลังใช้เทคโนโลยีเข้ามาร่วมทำงานว่ามีประสิทธิภาพเป็นไปตามที่คาดหวังหรือไม่
การเปลี่ยนแปลงด้านกฎหมายและข้อบังคับต่างๆ (Law and Regulation) อาทิเช่น กฎหมายที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคล PDPA (Personal Data Protection Act) ที่มีผลต่อการจัดการข้อมูลส่วนบุคคล รวมไปถึงข้อมูลอื่นๆเช่น ภาพถ่าย และ VDO ที่จะต้องใช้งานผ่านสื่อช่องทางต่างๆ ซึ่งองค์กรจะต้องปรับกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับข้อกำหนดทางกฎหมายเพื่อป้องกันความเสี่ยงทางกฎหมายและค่าปรับที่อาจะเกิดขึ้นได้
ความสัมพันธ์ (Connection) การขาดการเชื่อมต่อหรือรักษาความสัมพันธที่ดีกับ คู่ค้าและลูกค้าอาจเป็นอุปสรรค์สำคัญในการขยายธุรกิจและในกลุ่มแวดวงธุรกิจอื่นๆ อาจส่งผลถึงโอกาสในการรักษาส่วนแบ่งทางการตลาด ซึ่งองค์รจะต้องปรับตัวในการ สร้างและบำรุงรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าและคู่ค้าผ่านการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ เช่น การเข้าร่วมงานอีเวนต์อุตสาหกรรม และการสร้างโอกาสในการร่วมมือกัน
ตัวอย่างองค์กรที่กำหนดกลยุทธ์ทางธุรกิจผิดพลาด
- แบรนด์มือถือยักษ์ใหญ่รายหนึ่ง เคยเป็นผู้นำตลาดโทรศัพท์มือถือระดับโลก แต่การเกิดขึ้นของ Smart Phone ทำให้ไม่สามารถปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและสูญเสียส่วนแบ่งการตลาดให้กับคู่แข่งอย่าง Apple และ Samsung และกว่าจะกลับเข้าสู่ตลาดได้ก็สายไปแล้ว
- บริษัทผู้ให้บริการร้านเช่า VDO และเคยเป็นผู้นำตลาด แต่ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและการเข้ามาของ VIDEO Streaming Platform และสูญเสียส่วนแบ่งการตลาดให้กับ Netflix
- บริษัทผลิตฟีล์มและกล้องถ่ายภาพชื่อดัง เคยเป็นผู้นำตลาดฟิล์มถ่ายรูปของโลก แต่บริษัทเองไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี กล้องถ่ายถาพ DIGITAL และสูญเสียส่วนแบ่งการตลาดให้กับกล้องดิจิทัล แบรนด์ต่างๆอย่าง CANON,NIKON และ SONY
- บริษัทรถยนต์สัญชาติอเมริกันรายใหญ่ ที่เคยเป็นผู้นำตลาดรถยนต์ของอเมริกาและยุโรป ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีด้านยนตรกรรม และสูญเสียส่วนแบ่งการตลาดให้กับ Tesla
จะเห็นได้ว่าแบรนด์ที่เคยเป็นเจ้าตลาดแต่ไม่มีการปรับกลยุทธ์ในการทำธุรกิจ ภายใต้ปัจจัยบังคับอย่างการพัฒนาเทคโนโลยี ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อระบบของบริษัท พนักงาน และอาจะทำให้สูญเสียรายได้จนถึงขั้นต้องปิดกิจการซึ่งสาเหตุหลักๆคือ องค์กรไม่มีการปรับตัวให้ทันต่อเทรนของโลก ,ไม่มีการศึกษาพฤติกรรมของลูกค้า ,ขาดการวิเคราะห์คู่แข่ง,ไม่ได้ประเมิณความเสี่ยงและขาดกลยุทธ์ที่ชัดเจน
การรับมือกับปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ต้องมีการวางแผนที่ครอบคลุมและการประเมินความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการมีกลยุทธ์ในการจัดการความเสี่ยงที่เหมาะสม เช่น การสร้างความยืดหยุ่นในการดำเนินงาน การมีแผนฉุกเฉิน และการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อปรับปรุงกระบวนการทำงานและลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น.
การใช้บริการ Outsource เข้ามาช่วยในการปรับ กลยุทธ์ทางธุรกิจ
การใช้บริการ Outsource เข้ามาช่วยในการปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจช่วยให้องค์กรสามารถโฟกัสไปที่กิจกรรมหลักของธุรกิจได้มากขึ้น โดยการโอนความรับผิดชอบในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์, งานที่เกี่ยวข้องกับด้าน IT, การจัดการเอกสารภายในบริษัท, การบริหารจัดการรถยนต์, การบริหารพื้นที่สีเขียว และอื่นๆ ไปยังผู้ให้บริการภายนอกที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเข้ามาบริหารจัดการแทนองค์กร
ประโยชน์จากการใช้บริการ Outsource
1 ช่วยให้สามารถโฟกัสไปที่ธุรกิจหลักได้มากขึ้น: โดยการลดภาระการจัดการงานสนับสนุนที่ไม่ใช่หัวใจหลักของธุรกิจ, องค์กรสามารถเพิ่มประสิทธิภาพและความคล่องตัวในการบริหารธุรกิจหลัก.
2 ความสามารถในการปรับขนาด: บริการ Outsource ช่วยให้องค์กรสามารถปรับขนาดของทรัพยากรได้ตามความต้องการของธุรกิจ, ไม่ว่าจะเป็นการขยายหรือลดขนาด, ทำให้สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาดได้อย่างรวดเร็ว.
3 การโอนความเสี่ยง: การใช้บริการ Outsource ยังช่วยโอนความเสี่ยงบางประเภทไปยังผู้ให้บริการภายนอก, เช่น ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรมนุษย์, การลงทุนในเทคโนโลยี, หรือการปฏิบัติตามข้อกำหนดทางกฎหมาย.
4 การเข้าถึงนวัตกรรม: ผู้ให้บริการ Outsource มักจะมีการลงทุนในเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อให้บริการที่ดีที่สุดแก่ลูกค้า, ทำให้องค์กรสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ได้โดยไม่ต้องลงทุนเอง.
ด้วยการใช้กลยุทธ์การ Outsource ที่เหมาะสม, องค์กรสามารถเพิ่มความยืดหยุ่น, ปรับปรุงการบริหารจัดการ, และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในตลาดได้
SO ผู้นำด้านธุรกิจเอาท์ซอร์สแบบครบวงจร หนึ่งเดียวในตลาดหลักทรัพย์ของประเทศไทย ที่นำ Tech-enabled outsourcing solution เข้ามาพัฒนาธุรกิจของลูกค้าให้มีประสิทธิภาพที่ดีมากยิ่งขึ้น และทาง SO ยังมีการเพิ่มศัพยภาพที่แข็งแกร่งอย่างไม่หยุดนิ่งด้วยการที่มีพันธมิตรทางธุรกิจหลากหลายกลุ่มอุตสาหกรรทั้งไทยและทั่วโลก เพื่อมอบประโยชน์สูงสุดให้กับลูกค้า ด้วยบริการที่ครอบคุลมและพร้อมตอบโจทย์ทุกความต้องการในการพัฒนาธุรกิจ
เป้าหมายของ SO คือการเป็นพันธมิตรและที่ปรึกษาให้แก่ลูกค้า โดยการมีส่วนร่วมในการกำหนดกลยุทธ์และนโยบายสำหรับการดำเนินธุรกิจ ด้วยบริการ Outsource แบบผสานงานด้านบุคลากร และเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน เรียกว่า Tech-Enabled Outsourcing Solution เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการทำงาน พร้อมนำเสนอวิธีการในการแก้ปัญหาที่เหมาะสมสำหรับทุกธุรกิจ
การเอาท์ซอร์สช่วยให้องค์กรมุ่งเน้นไปที่ธุรกิจหลักได้อย่างเต็มที่ มีความยืดหยุ่นในการปรับขนาดธุรกิจตามสถานการณ์ ถ่ายโอนความเสี่ยงต่างๆ ให้ SO จัดการ พร้อมเข้าถึงเทคโนโลยีสมัยใหม่และนำหน้าคู่แข่ง เป็นการเปิดประตูสู่โอกาสใหม่ๆ ตามแนวคิด "Unlock Possibilities, SO Here We Are"